ในปัจจุบันหลายคนเริ่มมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้ามากยิ่งขึ้นและยอมรับว่าเป็นโรคมากกว่าเพียงแค่ความอ่อนแอทางจิตใจส่วนบุคคล เป็นเรื่องความบกพร่องของสารเคมีในสมองด้วย ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักจะมีอาการหม่นหมอง หงุดหงิดง่าย ขาดความสนใจต่อสิ่งรอบข้าง น้ำหนักลดลงหรือมากขึ้นอย่างรวดเร็วอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง มีผลต่อทั้งความคิด จิตใจ และสุขภาพร่างกาย จนอันตรายถึงชีวิต [1]
โดยในบทความนี้ Zenbio จะพาไปทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้า วิธีสำรวจตนเองเบื้องต้นว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ และวิธีดูแลสภาพจิตใจพื้นฐาน พร้อมแนะนำให้รู้จักกับโพรไบโอติกช่วยซึมเศร้าหรือที่เรียกโพรไบโอติกประเภทนี้ว่า ไซโคไบโอติก (Psychobiotics) >>คลิ๊กอ่าน
ทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้าที่มีผลต่อคนไทย
จากผลวิจัยและการเก็บสถิติเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าที่มีผลต่อสังคมไทยได้ข้อสรุปเป็นดังนี้[2] [3] [4]
- ส่วนใหญ่พบว่าเพศหญิงมีอัตราการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าเพศชาย 12%
- อัตราการฆ่าตัวตายในเพศชายมีจำนวนมากกว่าผู้หญิง
- เมื่อเพศชายเกิดอาการเครียดหรือซึมเศร้าขั้นรุนแรง พวกเขาจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจมากกว่าเพศหญิงอีกด้วย
- มีจำนวนผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่า 1.5 ล้านคน และเพิ่มขึ้น 1-2% ในทุกๆปี
- ช่วงปีที่ผ่านมาคนไทยพยายามฆ่าตัวตายชั่วโมงละ 6 คน หรือทั้งปีมากกว่า 53,000 คนและเสียชีวิตราว 4,000 คน ถือเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของไทย
- ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่ มีอายุ 15-29 ปี เท่านั้น
- 70% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งเป็นวัยหนุ่มสาวที่เป็นกำลังหลักให้กับประเทศชาติ แต่ต้องพบกับโรคซึมเศร้าและด่วนจากไปก่อน
- ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 25 ปีที่เป็นโรคซึมเศร้าหากไม่รับการรักษา ส่วนใหญ่จะเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรังทางจิตใจในระยะยาว ดังนั้นควรพบแพทย์และรักษาแต่เนิ่น ๆ ก่อน
โรคซึมเศร้าคืออะไร?
โรคซึมเศร้า คือ อาการผิดปกติของอารมณ์ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง เมื่อเกิดเหตุการณ์เลวร้ายที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึก ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีสารเซโรโทนิน (Serotonin) ในสมองลดลง ส่งผลให้เกิดอารมณ์ขุ่นมัว รู้สึกเศร้าหมอง และไม่มีความสุข หากไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน การทำงาน และความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง นำไปสู่ภาวะซึมเศร้าที่รุนแรงมากขึ้น เช่น มีอาการหลงผิด หูแว่ว มีความคิดทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตาย โดยโรคซึมเศร้ามีสาเหตุมาจากปัจจัยกระตุ้น[5] ดังนี้
1. ความเครียดสะสม เกิดอาการนอนไม่หลับและอาการอื่นๆ
2. การสูญเสียครั้งใหญ่
3. สภาพจิตใจที่เกิดจากการเลี้ยงดู
4. สภาพแวดล้อม ที่เคยอาศัยอยู่หรือที่ยังอยู่ ได้ทำร้ายจิตใจหรือเพิ่มความเครียด
5. ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างไม่ราบรื่น
6. ความเสี่ยงทางพันธุกรรม
ประเภทของโรคซึมเศร้า
โดยโรคซึมเศร้าสามารถแบ่งประเภทได้ตามพฤติกรรมและภาวะอารมณ์[6] ได้แก่
- โรคซึมเศร้า หรือ Major Depression Disorder
ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าประเภทนี้จะมีความรู้สึกซึมเศร้าอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น รู้สึกท้อแท้ไม่อยากทำอะไร เบื่อหน่ายกิจกรรมที่เคยชอบ และนอนน้อยหรือมากเกินไป เป็นต้น - โรคซึมเศร้าเรื้อรัง หรือ Persistent Depressive Disorder
ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าประเภทนี้จะมีความรู้สึกซึมเศร้ายาวนานมากกว่า 2 ปี ขึ้นไป ซึ่งความรู้สึกซึมเศร้าจะขึ้นๆ ลงๆ และอารมณ์ไม่คงที่ - โรคซึมเศร้าแบบไบโพลาร์ หรือ Bipolar Disorder
โรคซึมเศร้าแบบไบโพลาร์ หรือที่รู้จักกันในชื่อโรคไบโพลาร์ โดยผู้ที่เป็นโรคไบโพลาร์จะมีความรู้สึกซึมเศร้าสลับกับความรู้สึกครื้นเครงผิดปกติ - โรคซึมเศร้าหลังคลอด หรือ Postnatal Depression
ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดจะมีภาวะซึมเศร้าสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนและระยะหลังคลอด - โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล หรือ Seasonal Affective Disorder
ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าตามกาลเวลาจะมีภาวะซึมเศร้าผิดปกติในช่วงเวลาเดียวกันของแต่ละปี โดยส่วนใหญ่มักเกิดอาการขึ้นในฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กลางคืนยาวนานกว่ากลางวัน - โรคซึมเศร้าแบบจิตหลอน หรือ Psychotic Depression
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าแบบจิตหลอน คือ ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าร่วมกับอาการหลงผิด หรือหูแว่ว - กลุ่มอาการซึมเศร้าก่อนมีประจำเดือน หรือ Premenstrual Dysphoric Disorder
ผู้ที่มีอาการซึมเศร้าก่อนมีประจำเดือนจะมีภาวะซึมเศร้าผิดปกติ และมีอารมณ์แปรปรวนรุนแรง ซึ่งสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนก่อนมีประจำเดือน - โรคซึมเศร้าที่เกิดจากความผิดปกติของการปรับตัว หรือ Reactive Depression/ Adjustment Disorder
ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ากลุ่มนี้มักมีสาเหตุจากเหตุการณ์สะเทือนใจหนัก เช่น สูญเสียคนสำคัญ หรือการพลัดพรากจากคนที่รัก
อันตรายของโรคซึมเศร้า
แม้จะเป็นความเจ็บป่วยทางจิต แต่โรคซึมเศร้าสามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายและชีวิตประจำวันได้อย่างชัดเจน[7] ได้แก่
- เกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เช่น ครอบครัว แฟน เพื่อน หรือเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น
- ความเจ็บปวดและเจ็บป่วยทางร่างกาย เช่น อาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือภูมิคุ้มกันตก เป็นต้น
- โอกาสติดสารเสพติด เช่น สุรา บุหรี่ และสารเสพติดผิดกฎหมายต่างๆ
- ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากอาการนอนไม่หลับ หรือนอนหลับมากเกินไป เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ[8]
- ปัญหาสุขภาพจากการรับประทานอาหารมากหรือน้อยเกินไป เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง หายใจติดขัด หรือมีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ เป็นต้น[9]
- ทำร้ายตนเอง หรือพยายามฆ่าตัวตาย โดยผลการสำรวจชี้ว่าใน 1 ปี มีผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายราว 700,000 คน ทั่วโลก[10]
วิธีสำรวจตนเองเบื้องต้นว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่
โดยวิธีสำรวจตนเองเบื้องต้นมีอยู่ 9 ข้อ ซึ่งผู้ที่มีอาการมากกว่า 5 ข้อ เป็นระยะเวลานานเกิน 2 สัปดาห์ คือ ผู้มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า ควรเข้าพบจิตแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง[5]
- ความสนใจและความสุขต่อสิ่งรอบตัวลดลง
ไม่ค่อยสนใจหรือไม่ค่อยมีความสุขกับสิ่งรอบตัวหรือกิจกรรมที่เคยชอบ - อารมณ์ผิดปกติ
รู้สึกเศร้า เบื่อ หรือหงุดหงิดตลอดทั้งวัน - ผลกระทบจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไป
น้ำหนักลดหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารเปลี่ยนไป - ไม่อยากทำกิจวัตรประจำวัน
รู้สึกอ่อนแรงหรืออ่อนเพลียตลอดเวลา จนรู้สึกไม่อยากทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ สระผม และแปรงฟัน เป็นต้น - เชื่องช้าหรือกระวนกระวาย
มีอาการเชื่องช้าหรือกระวนกระวายอย่างเห็นได้ชัด - นอนไม่หลับหรือนอนหลับมากผิดปกติ
มีอาการนอนไม่หลับหรือนอนหลับมากผิดปกติ - การตัดสินใจแย่ลง
สมาธิลดลง ใจลอย ทำให้มีปัญหาเรื่องการตัดสินใจ - มีความคิดกับตนเองในแง่ลบ
อาจมีความคิดว่าตนเองไร้ค่าหรือโทษตนเองทุกเรื่อง - คิดเรื่องความตายหรือไม่อยากมีชีวิตอยู่บ่อยครั้ง
มีการคิดเรื่องความตาย การทำร้ายตนเอง หรือวางแผนจบชีวิตตนเองบ่อยครั้ง
ทาง Zenbio ได้แนบแบบประเมินสุขภาพจิตจาก กรมสุขภาพจิตเพื่อให้ท่านสามารถลองทำแบบทดสอบ เพื่อประเมินอาการด้วยตนเอง หากท่านพบว่าเข้าเกณฑ์ต่างๆ ตามที่ระบบแจ้งผล ควรนัดเพื่อพบจิตแพทย์โดยด่วน>>คลิ๊กที่นี่
แนะนำวิธีดูแลสภาพจิตใจพื้นฐาน
- การนอนและพักผ่อนอย่างเต็มที่ [11] [12]
มีงานวิจัยได้วิเคราะห์ว่าหนึ่งในสาเหตุที่จะก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า คืออาการนอนไม่หลับยิ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคนอนไม่หลับ (Insomnia) ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงสูง ดังนั้นเราจึงควรนอนพักผ่อนเยอะ และเพียงพอ หลีกเลี่ยงกิจกรรมก่อนนอนที่ทำให้นอนไม่หลับ เช่น- ห้ามจ้องมือถือหรือหน้าจอในช่วง 2 ชั่วโมงก่อนนอน
- ไม่ควรดื่มกาแฟหรือรับคาเฟอีนตอนเย็น
- ไม่ควรทำกิจกรรมที่ก่อเกิดความเครียดก่อนนอน
- ออกกำลังอย่างเป็นประจำ
การศึกษาชี้ว่าออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสามารถช่วยลดโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้ อีกทั้งยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการรักษาโรคซึมเศร้าร่วมกับจิตบำบัดแบบ CBT หรือ Cognitive-Behavioral Therapy [11]- กระตุ้นให้หลั่งสารเอ็นโดรฟิน (Endorphin ผลิตจากระบบประสาทส่วนกลางและต่อมใต้สมอง ร่างกายจะปล่อยสารนี้ออกมาเพื่อตอบสนองต่อความเจ็บปวดหรือความเครียด) ในสมอง ทำให้อารมณ์ดีขึ้น
- ช่วยเพิ่มอุณหภูมิของร่างกาย ซึ่งจะมีผลทางบวกต่อระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) เป็นระบบที่ผลิตสารเอ็นโดฟิน
- ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง ซึ่งส่งผลดีต่อ Gut-Brain Axis มีผลต่อระบบประสาทหลายส่วนของร่างกายและจิตใจ ให้ป้องกันโรคซึมเศร้า
- การจัดการความคิดและทัศนคติ
การจัดการความคิดอย่างสร้างสรรค์และมีทัศนคติในเชิงบวกสามารถช่วยลดโอกาสเจ็บป่วยทางจิตเวชได้ เช่น โรคซึมเศร้า ภาวะเครียด และภาวะวิตกกังวล [13] จากงานวิจัยแนะนำการจัดการทัศนคติด้วยกิจกรรมเหล่านี้ เช่น- ลดการเล่นโซเซียลมีเดีย เพราะหากเสพติดจนเกินไปอาจจะก่อเกิด อาการคิดมาก การเปรียบเทียบ และทำให้เครียด ควรใช้เพื่อการติดต่อหรือเพื่อการงาน [11]
- สร้างสายพันธ์ที่ดีกับผู้คน งานวิจัยได้บ่งบอกว่าหากเรามีคนคอยสนับสนุนทางจิตใจ ที่ปรึกษาที่ดี หรือมีเพื่อนร่วมทำกิจกรรมใหม่ๆ สามารถช่วยป้องกันภาวะซึมเศร้าได้ [11]
- ออกห่างจากสายสัมพันธ์ที่แย่ [11] หากแฟน เพื่อน หรือครอบครัว มีสภาพแวดล้อมที่ คุณอยู่แล้วก่อเกิดความเครียด และยิ่งมีการปะทะทางอารมณ์หรือวาจามาก เราควรเปลี่ยนสภาพแวดล้อม พักเบรกหรือออกห่าง เพราะจากงานวิจัย สายสัมพันธ์ที่แย่มีผลต่อทางจิตใจเป็นอย่างมาก
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เพียงพอ
การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เพียงพอช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายส่วนต่างๆ รวมถึงการหลั่งฮอร์โมนให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยลดโอกาสที่จะเกิดความเจ็บป่วยทางจิตได้[14]- ลดการบริโภค อาหารที่มีน้ำตาลสูง / ไขมันทรานส์สูง เพราะจะก่อเกิดให้ร่างกายแย่ในหลายด้านรวมถึง การอักเสบของร่างกาย (Inflammation) เป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคซึมเศร้า
- ลดการบริโภค อาหารที่ผ่านการแปรรูป (Processed Foods) เพราะอาหารแปรรูปมักผ่านการเติมแต่งสารต่างๆ เช่น ผงชูรศ เกลือ น้ำตาล สารกันบูด สารคงรูป สีอาหาร ฯลฯ เพื่อให้อาหารต้นทุนต่ำขายได้นาน กินง่าย อร่อยถูกปาก แต่สร้างข้อเสียต่อสุขภาพในหลายด้านมากๆ
ไซโคไบโอติก (Psychobiotics) เป็นโพรไบโอติกที่ช่วยปรับอารมณ์ ลดความเครียดหรือโรคซึมเศร้าได้ไหม? [15]
หัวข้อเกี่ยวกับโพรไบโอติกช่วยปรับอารมณ์หรือโพรไบโอติกช่วยซึมเศร้า เป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่ได้รับความสนใจทางการแพทย์ ซึ่งโพรไบโอติกที่ได้รับความสนใจมีชื่อเรียกว่า Psychobiotics โดย Psychobiotics คือ กลุ่มโพรไบโอติกที่มีส่วนช่วยในการช่วยส่งเสริมสุขภาพจิต ซึ่งมีงานวิจัยและหลักฐานในปัจจุบันชี้ให้เห็นว่า โพรไบโอติกสายพันธุ์เฉพาะ สามารถลดอาการซึมเศร้าและความวิตกกังวลได้ [15] และมีประโยชน์ต่อทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ (ต้องเลือกทานโพรไบโอติกที่ระบุถึงระดับสายพันธุ์ Strain เท่านั้น อ่านเพิ่มเติมเรื่องสายพันธุ์ได้ที่นี่)
ประโยชน์ของไซโคไบโอติก (Psychobiotics) ต่อสุขภาพจิต
โดยมีงานวิจัยและการศึกษามากมายที่ระบุว่าการรับประทานโพรไบโอติกส่งผลดีต่อสุขภาพจิต มีผลต่อการทำงานและการผลิตสารสื่อประสาทหลายชนิดที่มีผลต่ออารมณ์ [16]โดยจะสรุปประโยชน์เป็นข้อๆ ดังนี้
- ช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์สื่อประสาท (Neurotransmitters) สารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อส่งสัญญาณจากเซลล์ประสาทหนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง เพื่อการแสดงอารมณ์หรือการทำงานของร่างกายต่างๆ เช่น กรดแกมมา-อะมิโนบิวทีริก (GABA), เซโรโทนิน, คาเทโคลามีน, อะเซทิลโคลีนซึ่ง ส่งผลต่อความอยากอาหาร อารมณ์ และการนอนหลับให้เป็นปกติ [17]
- ลดระดับคอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนความเครียด หากร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลมากเกินไป อาจก่อให้เกิดอาการหรือโรคต่าง ๆ ได้ เช่น ไม่มีแรง เกิดปัญหาด้านการนอนหลับ(โรคนอนไม่หลับ Insomnia) ระบบภูมิคุ้มกันทำงานบกพร่อง เกิดภาวะสมองล้า และก่อเกิดโรคอื่นตามมา
- ส่งผลต่อการทำงานของ Gut-Brain Axis จะช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนไม่ให้เกิดผลทางลบต่อการทำงานของลำไส้และมีผลต่อสมอง ที่สำคัญยังส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะในหลายๆ ระบบ เช่น
- Central Nervous System | ระบบประสาทส่วนกลาง
- Enteric Nervous System | ระบบประสาทลำไส้
- Neuroendocrine System | ระบบต่อมไร้ท่อ
- Neuroimmune System | ระบบประสาทภูมิคุ้มกัน
- Hypothalamic-Pituitary-Adrenal Axis | แกนไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-อะดรีนัล
- Autonomic Nervous System | ระบบประสาทอัตโนมัติ
- Vagus Nerve | ประสาทวากัส
- Gut Microbiota | จุลินทรีย์ในลำไส้
- Metabolism | การเผาผลาญพลังงาน
มีผลต่อร่างกายในการทำงานต่างๆ ซึ่งนับรวมถึงการย่อยอาหาร, ระบบภูมิคุ้มกัน, อารมณ์, ความเครียด, ความรู้สึกทางเพศ, อารมณ์ของเรา, การเก็บและใช้พลังงานของร่างกาย เป็นต้น [18] [19]
- ลดการอักเสบของร่างกาย (Inflammation) ช่วยลดการอักเสบทั่วร่างกายและสมอง ซึ่งมีผลต่อโรคซึมเศร้าโดยตรง [19] การอักเสบของร่างกาย เช่น ปวดกล้ามเนื้อ ข้อต่อบ่อยๆ จะกระตุ้นการทำงานของเกล็ดเลือด ทำให้ร่างกายเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidative stress) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายขาดความสมดุลระหว่างอนุมูลอิสระและสร้างความเสียหายต่อเซลล์ และเกิดภาวะไนโตรเซทีฟ (Nitrosative stress) ต่อซึ่งเป็นผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการป้องกันของน้ำตาลกลูโคส-อินซูลิน ก่อเกิด โรคอื่นๆ ตามมาที่มีผลต่อทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น โรคอ้วน, โรคเบาหวาน, โรคหัวใจและหลอดเลือด
- ส่งผลต่อประสิทธิภาพของ Enterochromaffin Cells เป็นเซลล์ในระบบทางเดินอาหาร ทำหน้าที่สร้างสารสื่อประสาทที่ชื่อว่า เซโรโทนิน (Serotonin) ช่วยให้สุขภาพจิตดี อารมณ์ดี มีสมาธิ และมีผลต่อการขับถ่ายและการเคลื่อนตัวของลำไส้ [20]
- มีผลงานวิจัยว่าไซโคไบโอติกสามารถช่วยบรรเทา หรือมีผลเชิงบวกต่อการรักษา โรคที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตซึ่งยังมีผลต่ออาการหรือภาวะต่างๆ ของร่างกายอีกด้วย (เพราะโรคทางสุขภาพจิตมีผลเสียต่อร่างกายและก่อเกิดโรคอื่นๆ เพิ่มตามมา) ตามตารางดังนี้
โรคหรืออาการทางจิต | โรคหรืออาการทางร่างกาย |
---|---|
โรคซึมเศร้า (Depressive Disorder) | โรคกระเพาะ |
โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) | โรคลำไส้แปรปรวน IBS |
โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) | อาการปวดเมื่อยตามตัว กล้ามเนื้อและข้อต่อ |
โรคแพนิค (Panic Disorder) | ภาวะเบื่ออาหาร |
โรคอารมณ์แปรปรวน (Bipolar Disorder) | ร่างกายเพลีย ไม่มีแรงเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome) |
* ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์เฉพาะของไซโคไบโอติกที่เลือกทาน เพราะจะส่งผลต่อร่างกายที่แตกต่างกัน เช่น โพรไบโอติกสายพันธุ์ Bifidobacterium longum R0175 จะเด่นเรื่องการรักษาอาการทางจิตมากกว่ามีผลต่อร่างกายอย่าง โรคซึมเศร้า หรืออารมณ์แปรปรวน แต่โพรไบโอติกสายพันธุ์ Lactobacillus casei Shirota ช่วยปรับอารมณ์นิดหน่อยแต่เด่นไปในด้านการรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับจิตใจต่อร่างกาย เช่น อาการร่างกายเพลีย ไม่มีแรงเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome) [18]
โดยโพรไบโอติกนั้นไม่ได้มีส่วนช่วยแค่สุขภาพจิตและช่วยลดอาการซึมเศร้า แต่ยังมีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร ช่วยย่อย ดูดซึมสารอาหาร อีกทั้งยังส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง และหากเรารับประทานโพรไบโอติกที่มีความหลากหลายของสายพันธุ์ โพรไบโอติกเองก็จะให้ประโยชน์ต่อร่างกายในหลายๆ ด้าน ซึ่งขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่เรารับประทาน ดังภาพตัวอย่างสรุปประโยชน์ของโพรไบโอติก[20][21]
ซึ่งเราสามารถรับประทานอาหารที่มีจำนวนโพรไบโอติกสูงอย่าง โยเกิร์ต นมเปรี้ยว ชีสบางชนิด ผักดองอย่างกิมจิ หรือเลือกทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติกที่มีการระบุสายพันธุ์อย่างชัดเจนเพื่อตรงต่อปัญหาสุขภาพที่เราต้องแก้ปัญหา และที่สำคัญต้องไม่ลืมที่จะออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำกิจกรรมช่วยผ่อนคลาย เพียงเท่านี้ก็จะลดความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าได้แล้ว
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติก ที่มีสายพันธุ์เฉพาะ บิฟิโดแบคทีเรียม แล็กทิส เอชเอ็น019 (Bifidobacterium Lactis HN019) ได้ที่ลิงค์นี้
www.zenbiohealth.com/th/pro-bl8-th-โพรไบโอติก
แหล่งที่มาข้อมูลและอ้างอิง
[1][2][3][4][5][6][7][8][9][10][11][12][13][14][15][16][17][18][19][20][21]