การดูแลร่างกายอย่างสม่ำเสมอเป็นปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สำหรับผู้หญิง สุขอนามัยของจุดซ่อนเร้นและระบบทางเดินปัสสาวะเป็นส่วนสำคัญที่ต้องเอาใจใส่มากเป็นพิเศษ ซึ่งหนึ่งในตัวช่วยที่กำลังได้รับความสนใจ คือ โพรไบโอติก (Probiotics) หรือจุลินทรีย์ขนาดเล็กชนิดดีที่สามารถพบได้ในอาหารจำพวกโยเกิร์ต นมเปรี้ยว อาหารหมักดองชนิดต่างๆ หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร[1] ซึ่งนอกจากจะมีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหารแล้ว[2] โพรไบโอติกยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยดูแลสุขภาพช่องคลอดอีกด้วย
ในบทความนี้ Zenbio จะมาเล่าถึงประโยชน์ของโพรไบโอติกที่มีต่อจุดซ่อนเร้นของผู้หญิง แต่ก่อนหน้านั้น เรามาทำความรู้จักแบคทีเรียในช่องคลอดและปัญหาสุขภาพที่มักพบได้บ่อยกันดีกว่า
รู้จักแบคทีเรียในช่องคลอด
ในช่องคลอดจะมีแบคทีเรียประจำถิ่นอย่างแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) จำนวนมากและหลายสายพันธุ์อาศัยอยู่ โดยแบคทีเรียชนิดนี้มีหน้าที่หลักในการย่อยสลายแป้งไกลโคเจนที่สร้างจากเยื่อบุผนังช่องคลอด ให้กลายเป็นกรดแลคติก เป็นเหตุให้ช่องคลอดมีสภาวะความเป็นกรดอ่อน มีค่า pH ที่ประมาณ 4 ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อจุลินทรีย์ชนิดดีในช่องคลอด พร้อมยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียชนิดอื่นที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพช่องคลอด[3]
ปัญหาจุดซ่อนเร้นผู้หญิงที่มักพบบ่อย
แบคทีเรียในช่องคลอดนั้นสำคัญต่อการรักษาสมดุลของภาวะกรดด่างในช่องคลอด แต่ไลฟ์สไตล์บางอย่างอาจนำไปสู่การเสียสมดุลของแบคทีเรีย เช่น อาหารที่ทาน วิธีรักษาความสะอาด พฤติกรรมการใช้ชีวิต และการทานยา เป็นต้น[4] ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ บริเวณจุดซ่อนเร้นตามมา เช่น
• ภาวะตกขาวมีกลิ่นเหม็น (Vaginal Discharge Odor)[5]
ตกขาว คือ สิ่งคัดหลั่งจากอวัยวะในอุ้งเชิงกราน ลักษณะเป็นเมือกขาว ใส ไม่มีสี หรือเป็นสีขาว ไม่มีกลิ่นเหม็น ปกติจะพบมากในช่วงกลางของรอบประจำเดือนหรือขณะตั้งครรภ์ หากตกขาวมีการเปลี่ยนสี หรือมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ เช่น ตกขาวเป็นสีเขียวหรือเหลือง และมีกลิ่นคาวปลา อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสาเหตุการติดเชื้อสามารถเกิดจากปัจจัยภายนอกเช่น การติดเชื้อจากโรคหนองใน และ/หรือ ปัจจัยภายใน เช่น การสูญเสียแบคทีเรียประจำถิ่นชนิดดีในช่องคลอดหรือการเสียสมดุลแบคทีเรียประจำถิ่นในช่องคลอด เป็นต้น การที่แบคทีเรียดีประจำถิ่นในช่องคลอดมีปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยควบคุมไม่ให้แบคทีเรียชนิดก่อเกิดโรคเพิ่มจำนวนจนทำให้ร่างกายป่วยเกิดภาวะหรือโรคอื่นๆ ตามมา
• ภาวะเชื้อราในช่องคลอด (Vaginal Candidiasis)[6] [7]
ภาวะติดเชื้อราในช่องคลอดสามารถเกิดได้ในร้อยละ 20 ของผู้หญิง โดยมีสาเหตุมาจากเชื้อรา Candida albicans ซึ่งจะมีอาการคันและระคายเคือง มีอาการบวม มีผื่นแดงบริเวณช่องคลอด และมีตกขาวเป็นสีขาวครีมข้น ไม่มีกลิ่น ภาวะนี้พบได้มากในสตรีตั้งครรภ์ เนื่องจากมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายเพิ่มมากขึ้น ผู้ที่ใช้ยาปฏิชีวนะต่อเนื่องเป็นเวลานาน โดยยาปฏิชีวนะสามารถไปทำลายเชื้อแบคทีเรียดีในช่องคลอด กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี และ/หรือผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
• ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis)[8]
ภาวะช่องคลอดอักเสบ เกิดจากความไม่สมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอด โดยแบคทีเรียดีที่ชื่อว่าแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ลดจำนวนลง ทำให้แบคทีเรียก่อโรคบางชนิดอย่าง Gardenerella Vaginalis[9] มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นจนทำให้ช่องคลอดอักเสบ อาการช่องคลอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ตกขาวเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่น สีเทา หรือสีเขียว และมักมีกลิ่นคาว มีอาการคันและระคายเคืองบริเวณช่องคลอด และ/หรือมีอาการแสบร้อนขณะปัสสาวะ
คืนสมดุลให้จุดซ่อนเร้นด้วยโพรไบโอติก
โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ขนาดเล็กชนิดดีที่นอกจากจะอาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหาร ยังอยู่ในช่องคลอดของผู้หญิงอีกด้วย เพราะจุลินทรีย์เหล่านี้สามารถทนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความเป็นกรดได้ดี โดยโพรไบโอติกนั้นมีหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละชนิดมีประโยชน์ต่อร่างกายที่แตกต่างกันไป เช่น Lacticaseibacillus rhamnosus HN001[10], Lactobacillus acidophilus La-14[10] และ Lacticaseibacillus acidophilus NCFM[11] โพรไบโอติกเหล่านี้เป็นโพรไบโอติกสำหรับผู้หญิงที่สามารถช่วย
- รักษาสมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอด[3]
- ยับยั้งแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคในช่องคลอด
- ลดโอกาสเกิดภาวะการติดเชื้อในช่องคลอด ลดปัญหาจุดซ่อนเร้นมีกลิ่น
- ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะทางนรีเวชต่างๆ[12]
โดยจากงานศึกษาหนึ่ง พบว่าผู้หญิงที่รับประทานโยเกิร์ตที่มีโพรไบโอติกชนิด L. acidophilus นั้นมีจำนวนจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัสในช่องคลอดจำนวนมากกว่า และมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียน้อยกว่าคนที่ไม่รับประทาน[13]
สรุป โพรไบโอติกเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญในการดูแลสุขอนามัยจุดซ่อนเร้น อีกทั้งยังสามารถยับยั้งแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ที่ทำให้ผู้หญิงกังวลใจอีกด้วย ซึ่งเราสามารถเพิ่มโพรไบโอติกในร่างกายได้ด้วยการรับประทานอาหาร เช่น โยเกิร์ต ที่มีโพรไบโอติกส์สายพันธุ์ที่มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร เช่น Bifidobacterium, Lactobacillus casei, และ Lactobacillus acidophilus นมเปรี้ยว อาหารหมักดอง ดาร์กช็อคโกแลต รวมไปถึงชีสบางประเภท[14] เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง และสุขภาพจุดซ่อนเร้นที่ดี
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติก ที่มีสายพันธุ์เฉพาะ แลคโตบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส NCFM (Lactobacillus acidophilus NCFM) ได้ที่ลิงค์นี้
www.zenbiohealth.com/pro-bl8-th-โพรไบโอติก/
อ้างอิง
[1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14]