“โรคภัยในเด็กเล็ก” คือหนึ่งในปัญหาของคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องให้ความสำคัญและใส่ใจ เพราะทุกครั้งที่ลูกออกไปโรงเรียน หรือสถานที่ที่มีผู้คนหนาแน่นและอยู่รวมกันมากๆ อาจเกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคซึ่งทำให้ลูกเจ็บป่วยได้ เพราะพฤติกรรมของเด็กที่ยังไม่สามารถดูแลตัวเองได้ รวมถึงภูมิคุ้มกันที่ยังไม่แข็งแรง ทำให้ลูกมีโอกาสเจ็บป่วยจากโรคเด็กเล็กได้ง่าย[1] ไม่ว่าจะเป็น ท้องร่วง ท้องเสีย ไข้หวัดใหญ่ โรคมือเท้าปาก โรคตาแดง ไปจนถึงการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจจากไวรัส RSV หรือ Respiratory Syncytial Virus ที่มีผลต่อปอดและระบบทางเดินหายใจ อาจทำให้ปอดอักเสบได้[2]
ในบทความนี้ Zenbio จะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความรู้จักกับโรค RSV และแนะนำวิธีที่เป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับคุณพ่อ คุณแม่ ที่กำลังมีลูกเล็ก ในการเสริมภูมิคุ้มกันให้พวกเขา ด้วยโพรไบโอติกสำหรับเด็ก ที่มีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร และภูมิคุ้มกันเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของลูก ป้องกันโรค RSV และ ให้ห่างไกลจากกลุ่มโรคเด็กอนุบาล[3]
โรค RSV คืออะไร?[4] [5]
RSV หรือโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส RSV ซึ่งมีสองสายพันธุ์คือ RSV-A และ RSV-B ทั้ง 2 สายพันธุ์นี้มีลักษณะของการก่อโรคไม่ต่างกัน และเป็นไวรัสก่อการติดเชื้อทางเดินหายใจ มีการระบาดเกือบทุกปี โดยเฉพาะระบาดในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เป็นโรคที่สามารถแพร่ระบาดได้รวดเร็วทำให้เด็กป่วยพร้อมกันเป็นจำนวนมากเชื้อไวรัส RSV เป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อกันง่าย ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ โดยไวรัสเข้าสู่ร่างกายผ่านทาง ตา จมูก ปาก หรือสัมผัสเชื้อโดยตรงจากการจับมือ แพร่กระจายได้ง่าย ผ่านการไอหรือจาม มักพบการแพร่ระบาดในฤดูฝนและฤดูหนาว
โรคนี้มักมีความรุนแรงกว่าไข้หวัดทั่วไป ผู้ใหญ่ก็สามารถติดได้หรือเป็นพาหะเช่นกัน แต่ในสำหรับผู้ใหญ่อาการจะไม่รุนแรงเท่าเด็กเล็ก ส่วนมากตัวเชื้อไวรัสนี้จะลงไปที่หลอดลมฝอย หรือลงไปที่ตัวเนื้อปอด ทำให้เป็นปอดอักเสบ หรือเป็นหลอดลมฝอยอักเสบ สิ่งที่อันตรายที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง ถ้าเจอเชื้อไวรัสนี้ในเด็กเล็กๆ อายุน้อยกว่า 3 เดือน อาจจะทำให้เด็กเกิดอาการหยุดหายใจได้ ซึ่งถือว่าเป็นเชื้อไวรัสที่อันตรายมากในเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กที่คลอดก่อนกำหนด ก็จะเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ RSV มากกว่ากลุ่มอื่น หรือเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น ภาวะโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือเด็กที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือมีภาวะขาดสารอาหาร ก็มักจะมีโอกาสติดเชื้อ RSV ได้มากกว่าเด็กกลุ่มอื่น
สัญญาณและอาการของโรค RSV มีอะไรบ้าง? [4] [5] [6]
หากเด็กได้รับเชื้อ ระยะฟักตัวของโรคจะอยู่ที่ประมาณ 2-8 วัน ผู้ป่วยมักจะแสดงอาการเฉลี่ยอยู่ที่ 4-6 วันหลังได้รับเชื้อ ช่วงแรกอาการโดยทั่วไปอาจคล้ายไข้หวัดธรรมดา แต่สังเกตอาการจำเพาะของเชื้อนี้ที่มักพบในเด็กเล็กคือ หลอดลมฝอยอักเสบ ซึ่งจะทำให้เด็กมีอาการคล้ายหอบหืด อาการที่พบมีดังนี้
- มีไข้สูง 39-40 องศา ติดต่อกันหลายวัน
- มีน้ำมูก ลักษณะของน้ำมูกจะมีความเหนียวมาก คล้ายกาว
- ลักษณะการไอจะเสียงดังโขลกๆ ไอแบบมีเสมหะ
- หายใจครืดคราด บางรายอาจจะมีอาการหายใจเร็ว หรือหายใจแรงหรือมีอาการหอบเหนื่อย
- บางรายเด็กอาจจะปากหรือตัวซีดเขียว ซึ่งเป็นภาวะที่ควรต้องรีบไปพบแพทย์โดยทันที
- ในเด็กทารก อาจจะพบอาการร้อง กระสับกระส่ายไม่กินนม
- เมื่อป่วยแล้วก็จะสามารถแพร่กระจายเชื้อได้นานขึ้นอีกประมาณ 3-8 วัน
การป้องกันโรค RSV[4] [6]
- ควรฝึกให้ลูกใส่หน้ากากอนามัยเป็นนิสัยติดตัวหากลูกต้องออกนอกบ้านหรือไปโรงเรียน นอกจากจะป้องกันเชื้อไวรัส RSV ได้แล้ว ยังสามารถป้องกัน COVID-19 ฝุ่นและโรดติดเชื้อต่างๆ ได้อีกด้วย ยกเว้นเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ปี ที่ห้ามสวมหน้ากากอนามัย เพราะอาจทำให้ขาดอากาศหายใจได้
- พ่อและแม่ควรระมัดระวังเรื่องความสะอาด และป้องกันการติดเชื้อ ก่อนจะให้ใครจับตัวเด็ก ควรให้ล้างมือ ฟอกสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ เพราะโรค RSV ผู้ใหญ่ก็สามารถติดได้และอาจจะเป็นพาหะที่นำเชื้อจากนอกบ้านมาติดเด็กได้
- ฝึกให้ลูกหมั่นล้างมือบ่อยๆ เป็นนิสัยล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ เพราะการล้างมือนอกจากจะลดเชื้อ RSV และเชื้ออื่นๆ ที่อาจติดมากับมือได้
- หลีกเลี่ยงสถานที่แออัดหรือที่เป็นจุดเสี่ยงที่ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย เช่น เนอสเซอรี่ แหล่งที่มีเด็กอยู่รวมกันหลายๆ คน เช่น บ้านบอล หรือสนามเด็กเล่น ถ้าเป็นช่วงที่โรคนี้ระบาด ก็ควรหลีกเลี่ยง
- ศึกษาเรื่องโภชนาการเพื่อจัดเตรียมอาหารให้ลูกกินอาหารที่ดี มีประโยชน์ อาหารประเภทช่วย เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกแข็งแรง
- หมั่นสร้างกิจกรรมการออกกำลังกายกับลูก ให้เป็นกิจวัตร เพื่อช่วยเสริมสร้างให้ลูกร่างกายแข็งแรง กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน
- เมื่อมีบุตรหลานที่มีอาการป่วยเป็นไข้หวัด ควรแยกเด็กออกจากเด็กปกติเพื่อหลีกเลี่ยงการคลุกคลีเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อ
- ควรจัดเวลาให้ลูกพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่นอนดึก ให้ร่างกายลูกได้พักฟื้น ซ่อมแซม เพิ่มพลังในการดำเนินชีวิตในวันถัดๆ ไป
โพรไบโอติกสำหรับเด็กสำคัญอย่างไร?
โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีชีวิตซึ่งเกิดขึ้นและพบได้ตามธรรมชาติ จุลินทรีย์เหล่านี้อาศัยอยู่ในร่างกาย ส่วนใหญ่มักพบในระบบทางเดินอาหาร มีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายด้าน เช่น ทำหน้าที่ในการช่วยย่อยอาหารและส่งเสริมการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย (เนื่องจากระบบทางเดินอาหารเป็นที่อยู่หลักของเซลล์เม็ดเลือดขาว[7]) ซึ่งส่วนนี้สำคัญต่อสุขภาพของเด็กอย่างมาก[8] เพราะหากเด็กมีปริมาณโพรไบโอติกในลำไส้ต่ำ ก็อาจจะทำให้การทำงานของลำไส้แปรปรวน เกิดอาการท้องเสีย ปวดท้อง หรืออาจนำมาสู่อาการแพ้ เช่น ไอ จาม น้ำมูกไหล และร่างกายสามารถเจ็บป่วยจากการติดโรคต่างๆ ได้ง่ายอันเป็นสัญญาณของภูมิคุ้มกันที่ตกลงได้
โพรไบโอติกสำหรับเด็กเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันลูกมีอะไรบ้าง?
โพรไบโอติกสำหรับเด็กสามารถพบได้ตามธรรมชาติทั่วไปในธัญพืช ผลไม้ พืชผักบางชนิด[9] อาหารบางประเภท หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ของโพรไบโอติกแตกต่างกันออกไปในแต่ละสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็มีหน้าที่เฉพาะตัวในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายมนุษย์
การเลือกโพรไบโอติกที่เหมาะสมกับวัยของลูกก็จะสามารถเสริมในส่วนที่จำเป็นให้กับพวกเขาได้อย่างตรงจุด โดยสายพันธุ์ของโพรไบโอติกที่เหมาะสำหรับเด็กแบ่งได้ตามช่วงวัยของพวกเขาได้ดังนี้
1.โพรไบโอติกธรรมชาติสำหรับเด็กเล็กแรกเกิด
โพรไบโอติกสำหรับเด็กเล็กในช่วงวัยนี้ คือสายพันธุ์ Lactobacillus reuteri DSM 17938[10] และ Bifidobacterium[11] สามารถพบได้ในนมแม่ ซึ่งเป็นโพรไบโอติกสำหรับเด็กตัวสำคัญที่จะวางรากฐานสุขภาพท้องและลำไส้ที่ดีให้กับเด็กเล็กได้ เพราะจะช่วยส่งเสริมระบบย่อยอาหารด้วยการปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ ช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อในกระเพาะอาหาร อาการท้องผูก ท้องเสียเรื้อรัง ดังนั้นเด็กในวัยนี้จึงควรได้รับนมแม่อย่างสม่ำเสมอในช่วง 6 เดือนแรกเพื่อสุขภาพและภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง
2.เพิ่มภูมิคุ้มกันให้เด็กวัย 3 – 5 ปี
ประโยชน์ของโพรไบโอติกสำหรับเด็กยังสามารถช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อของกลุ่มโรคเด็กอนุบาล อย่าง RSV ซึ่งมีโอกาสในการติดเชื้อจากไวรัสที่แพร่กระจายในโรงเรียน หรือกิจกรรมต่างๆ ที่เจ้าตัวน้อยต้องเผชิญ ทำให้เกิดอาการป่วยไข้ได้ง่าย มีการศึกษาทางการแพทย์พบว่าโพรไบโอติกสายพันธุ์ Lactobacillus acidophilus NCFM เหมาะต่อการเพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันของเด็กในวัยนี้ โดยสามารถช่วยร่นระยะเวลาและความรุนแรงของอาการไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ได้มากถึง 30% – 50%[12] เมื่อเทียบกับเด็กที่ไม่ได้รับโพรไบโอติกชนิดนี้
3.ลดอาการภูมิแพ้ในเด็ก
โพรไบโอติกสายพันธุ์ Lactobacillus rhamnosus และ Lactobacillus paracasei มีประสิทธิภาพในการลดโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณแม่ได้รับในระหว่างตั้งครรภ์ลูกและในช่วง 6 เดือนแรกของเด็กแรกเกิด[13] จากการศึกษาในประเทศนิวซีแลนด์ยังพบว่า โพรไบโอติกสายพันธุ์ Lactobacillus rhamnosus HN001สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภูมิแพ้ผิวหนังในเด็กถึง 44% นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถเสริมภูมิคุ้มกันลดอาการแพ้โปรตีนในนมวัวที่มักเกิดขึ้นในเด็กได้ด้วยโพรไบโอติกสายพันธุ์ Lacticaseibacillus rhamnosus GG[14][15]
เลือกอาหารที่มีโพรไบโอติกสำหรับเด็กเพื่อลูกที่แข็งแรง
ระบบย่อยอาหารและลำไส้ที่แข็งแรงสัมพันธ์กับภูมิคุ้มกันของลูก ดังนั้นการเลือกอาหารที่อุดมไปด้วยโพรไบโอติกจะช่วยเสริมให้ลูกมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงและห่างไกลจากโรคเด็กเล็ก ที่สำคัญควรให้ลูกทานอาหารที่มี พรีไบโอติกด้วยเพื่อเสริมประสิทธิภาพของโพรไบโอติก เพื่อสร้างพัฒนาการที่ดีอย่างต่อเนื่องให้กับลูก ด้วยแร่ธาตุ วิตามิน และเอนไซม์จากธรรมชาติ[16]
อาหารที่มีโพรไบโอติก
- โยเกิร์ต คีเฟอร์ หรือนมเปรี้ยว
- ผักแปรรูป เช่น กิมจิ แตงกวาดอง ขิงดอง
- เท็มเป้ ซุปมิโสะ และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีโพรไบโอติกสายพันธุ์เฉพาะที่เหมาะสมกับวัยของลูก (เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีการระบุถึงระดับ Strain ทั้งนี้ควรศึกษาประโยชน์ของสายพันธุ์เฉพาะนั้นด้วย)
อาหารที่มีพรีไบโอติก
- กล้วย, ขนมปัง, หัวหอมใหญ่, แอปเปิล, ข้าวโอ๊ต, ข้าวโอ๊ต และอื่นๆ
(สามารถอ่านข้อมูลอาหารที่มีโพรไบโอติกได้ที่นี่ www.zenbiohealth.com/พรีไบโอติก-คือ/)
อย่างไรก็ตาม การให้ลูกทานอาหารที่มีโพรไบโอติกสำหรับเด็กเป็นเพียงส่วนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเท่านั้นให้ลูกห่างไกลจากโรคเด็กเล็ก คุณพ่อ คุณแม่ยังต้องคำนึงและดูแลให้ลูกได้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และได้รับคุณค่าทางโภชนาการให้เพียงพอในแต่ละวันเพื่อร่างกายที่แข็งแรงของลูกในระยะยาว
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติก ที่มีสายพันธุ์เฉพาะ บิฟิโดแบคทีเรียม แล็กทิส เอชเอ็น019 (Bifidobacterium Lactis HN019) ได้ที่ลิงค์นี้
www.zenbiohealth.com/th/pro-bl8-th-โพรไบโอติก
อ้างอิง [1][2][3][4][5][6][7][8][9][10][11][12][13][14][15][16]