รายละเอียดบทความ

มาทำความรู้จัก Long COVID (ลองโควิด) และ MIS-C (มิสซี)

กันยายน 29, 2023

แชร์ไปยังโซเชียลมีเดีย:

Long covid
มาทำความรู้จัก Long COVID (ลองโควิด) และ MIS-C (มิสซี)

เมื่อติดเชื้อ COVID-19 และรักษาตัวจนหายแล้ว ใครหลายคนต้องเผชิญกับอาการ Long COIVD (ลองโควิด) ที่ทำให้รู้สึกเหมือนยังป่วยอยู่ ส่งผลให้ร่างกายไม่แข็งแรงเท่าเดิม อวัยวะภายในร่างกายทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพเหมือนเมื่อก่อน ส่วนในกลุ่มเด็ก ยังมีโอกาสพบกับภาวะแทรกซ้อนที่เรียกว่า MIS-C (มิสซี) ซึ่งหากปล่อยไว้ ไม่ทำการรักษาหรือดูแลอย่างใกล้ชิด อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพร่างกายในระยะยาว[1]

ในบทความนี้ Zenbio จะพาผู้อ่านทุกท่านมาทำความรู้จักภาวะ Long COVID (ลองโควิด) และ MIS-C (มิสซี) เพื่อให้สามารถดูแลตัวเองอย่างถูกต้องและกลับมามีสุขภาพที่ดีได้

เตือนความจำ โรค COVID-19

โรค COVID-19 คือ โรคติดต่อที่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจและร่างกายของผู้ติดเชื้อ ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (SARS-CoV-2: Severe Acute Respiratory Syndrome-Coronavirus-2) ที่หลายคนทราบกันดีว่าเกิดการแพร่ระบาดครั้งแรกในช่วงเดือนธันวาคมปี 2019 ในมณฑลอู่ฮั่น ประเทศจีน[2] ก่อนที่จะแพร่ระบาดไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย

เชื้อไวรัส COVID-19 สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ด้วยการสัมผัสกับละอองฝอยหรือสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย เช่น ละอองฝอยจากการไอหรือจาม น้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะ การสัมผัสเชื้อที่หลงเหลือบนพื้นผิวของสิ่งของเครื่องใช้ รวมไปถึงการรับเชื้อไวรัสที่ลอยอยู่ในอากาศ[3] โดยผู้ที่ติดเชื้อมักมีอาการ เช่น

  • ไอ เจ็บคอ หายใจลำบาก มีเสมหะ
  • มีไข้สูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ตาแดงอักเสบ
  • หนาวสั่น, อาการน้ำมูกไหล หรือมีผื่นขึ้น
  • อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และอาจมีอาการเจ็บหน้าอก
  • รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ
  • อาการท้องร่วง
  • เกิดภาวะพาร์สเมีย (Parosmia) เสียหรือเกิดความผิดปกติของการรับรู้กลิ่นและรส[4] [21]

แม้ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรง แต่บางรายอาจมีอาการหนักจนต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลและติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ซึ่งผู้ที่มีอายุน้อยมักไม่มีอาการรุนแรงเท่ากับผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ หรือโรคมะเร็ง[5]

หลังการระบาดครั้งแรก COVID-19 มีการเปลี่ยนแปลง (Mutation) กลายเป็นสายพันธุ์ระดับที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC) อาทิ สายพันธุ์อัลฟ่า (B.1.1.7), เบต้า (B.1.351), แกมม่า (P.1), เดลต้า (B.1.617.2) รวมไปถึงสายพันธุ์โอไมครอน (B.1.1.529) ที่แพร่ระบาดได้รวดเร็ว และติดต่อง่ายกว่าสายพันธุ์เดลต้ามากถึง 2 เท่า[6] ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมในไทยมากกว่า 4.6 ล้านราย ตั้งแต่ปี 2563[7] 

สถานการณ์โควิดในปัจจุบัน

จากประกาศกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับให้โรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังจากโรคติดต่ออันตราย ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 โดยมีผลบังคับใช้มาแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565[8] ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มการระบาดลดลง รวมถึงจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตที่ลดน้อยลงตามลำดับ ส่งสัญญาณตอนนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วง Post Pandemic และเข้าใกล้สู่การเป็นโรคประจำถิ่น[9]

แม้จะมีมาตรการเตรียมพร้อมโรคโควิดเข้าสู่โรคประจำถิ่น เช่น ประชาชน 2U, COVID-Free Setting, กระทรวงสาธารณสุข “3 พอ” แต่หลายคนก็มีโอกาสที่ต้องเจอกับภาวะ Long COIVD ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ใน 30-50% จากจำนวนผู้ที่รักษาหายแล้ว[10]

Long COVID คืออะไร?

ภาวะ Long COVID (ลองโควิด) คือ อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 ที่ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ระบุเอาไว้ว่า ภาวะ Long COVID หรือ Post COVID-19 Condition คือ อาการป่วยต่อเนื่อง หรือ อาการป่วยที่เกิดขึ้นใหม่ในระยะเวลาประมาณ 3 เดือนหลังจากติดเชื้อครั้งแรก ซึ่งผู้ที่มีภาวะนี้อาจแสดงอาการยาวนานเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน หรือแม้กระทั่งรายปี[11][12]

ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่ควรคำนึกเอาไว้คือ อาการ Long COVID เป็นอาการเจ็บป่วยที่ไม่มีลักษณะตายตัว แต่ละบุคคลอาจมีอาการคล้ายกันหรือต่างกันก็ได้ โดยอาการของ Long COVID ที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • อาการอ่อนเพลีย เหนื่อย
  • หายใจถี่ หายใจไม่ทัน หรือรู้สึกหอบเหนื่อยง่าย
  • ยังคงมีภาวะพาร์สเมีย (Parosmia) ทำให้รับรสหรือได้กลิ่นน้อยลง
  • รับรสหรือได้กลิ่นน้อยลง
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อต่อ
  • ความจำสั้น ไม่มีสมาธิ หรือรู้สึกสมองล้า
  • เวียนศีรษะ
  • อาการใจสั่น แน่นหรืออึดอัดบริเวณหน้าอก
  • นอนไม่หลับ หรือหลับยาก
  • ปวดท้อง ท้องเสีย ไม่อยากอาหาร
  • มีผื่นขึ้นตามตัว
  • มีอาการวิตกกังวลหรือภาวะซึมเศร้า

โดยผู้ป่วยทุกรายมีโอกาสเกิดอาการ Long COVID ได้ แต่มักไม่พบในกลุ่มผู้ที่มีภูมิคุ้มกันจากการรับวัคซีน[13] ทั้งนี้ กลุ่มเสี่ยงที่ควรเฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิดได้แก่ ผู้สูงอายุ เพศหญิง ผู้ที่มีโรคประจำตัว  เช่น หอบหืด เบาหวาน ผู้ป่วยที่เคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ[13]

MIS-C ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงในเด็ก

MIS-C (มิสซี) หรือ Multisystem lnflammatory Syndrome in Children คือ อาการอักเสบหลายระบบของร่างกายพร้อมกันในเด็ก ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีความรุนแรง และพบได้ในเด็กที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 ราว 2-6 สัปดาห์ โดยอายุเฉลี่ยที่พบจะอยู่ที่ 8-10 ปี และพบได้ในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง[14] 

ภาวะ MIS-C นี้เกิดจากการที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่อเชื้อไวรัสผิดปกติหรือมากเกินไป ถึงแม้อัตราในการเกิด MIS-C จะไม่มาก แต่มักมีอาการรุนแรง ทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายเด็กผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นใน ระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบเลือด การแข็งตัวของเลือด ระบบทางเดินอาหาร และผิวหนัง ดังนั้นพ่อแม่ผู้ปกครองจึงควรเฝ้าระวังและสังเกตอาการเด็กอย่างใกล้ชิด หากมีอาการรุนแรงสามารถส่งผลให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาการ MIS-C ที่ต้องระวัง[15]

  • มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส นานกว่า 24 ชั่วโมง
  • มีผื่นแดงขึ้นตามตัว ตาแดง ปากแดง
  • อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว บางรายอาจมีภาวะตับอักเสบ
  • หายใจลำบาก หอบเหนื่อย หรือปอดอักเสบ
  • ความดันต่ำ เจ็บหน้าอก อาการช็อก
  • มีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และมีอาการชัก
  • เด็กบางรายอาจมีต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณลำคอ

หากพบว่าเด็กมีอาการผิดปกติหลังหายจากโควิด-19 แล้ว ผู้ปกครองควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย ผ่านการซักประวัติและตรวจร่างกาย เมื่อแพทย์พบความผิดปกติและวินิจฉัยว่าเป็นภาวะ MIS-C คนไข้จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล เนื่องจากภาวะการอักเสบหลายระบบ จึงต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์สาขาเฉพาะทางของระบบนั้นๆ[15]

ดูแลตัวเองหลังหายป่วยจากโควิดอย่างไร ?

ภาวะ Long COVID  มีตั้งแต่อาการไม่รุนแรงจนถึงทำให้ร่างกายทรุดโทรม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งแพทย์จะรักษาตามอาการเป็นหลัก ในส่วนของการดูแลตัวเอง ควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น ยังมีไข้สูง ไอบ่อย เหนื่อยง่ายกว่าปกติ ฟื้นตัวได้ไม่ดีเท่าเดิม หรือยังคงมีภาวะพาร์สเมีย (Parosmia) อยู่ทำให้รับรส ได้กลิ่นน้อยลงหรือเพี้ยนผิดปกติหรือไม่ หากมีอาการเหล่านี้ควรเข้าตรวจสุขภาพและรับการรักษาให้กลับมาเป็นปกติ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด 

ในช่วงที่กำลังพักฟื้นจาก Long COVID ต้องดูแลร่างกายเพิ่มเติม โดย เริ่มจากการออกกำลังกายเบา ๆ เน้นเคลื่อนไหวช้า ๆ ให้ได้มากที่สุดก่อน และพยายามไม่หักโหมหรือออกกำลังกายหนักเกินไป เพราะปอดและอวัยวะต่างๆ กำลังฟื้นฟูอยู่ ฉะนั้นต้องไม่ลืมที่จะพักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 6-8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมตัวเองอย่างเต็มที่[1]

อีกหนึ่งแนวทางการฟื้นฟูจากภาวะ Long COVID คือ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งเพื่อช่วยซ่อม สร้าง และเสริม เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายอย่างโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่ว เต้าหู้ นอกจากนี้ ทางกรมอนามัยแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติก เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว ฯลฯ  เพื่อช่วยฟื้นฟูร่างกายและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย[16]

แนะนำโพรไบโอติก 2 สายพันธุ์ เสริมภูมิคุ้มกันและปรับสมดุลร่างกาย หลังหายจากโควิด-19

โพรไบโอติก (Probiotic) คือ จุลินทรีย์ขนาดเล็กชนิดดีที่อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์ โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในระบบทางเดินอาหาร เช่น กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ มีมากหลายสายพันธุ์และมีประโยชน์ต่อสุขภาพที่แตกต่างกันตามสายพันธุ์เฉพาะ(Specific Strain) ซึ่งความสามารถพื้นฐานของแบคทีเรียดีเหล่านี้คือ มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้เป็นปกติ อีกทั้งยังช่วยย่อยอาหาร รักษาและบรรเทาอาการท้องผูก[17] โดยวันนี้ Zenbio จะมาแนะนำโพรไบโอติก 2 สายพันธุ์เฉพาะที่มีความสามารถโดดเด่นในด้านของการเสริมภูมิคุ้มกันและปรับสมดุลระบบทางเดินอาหาร ได้แก่

1. โพรไบโอติก Bifidobacterium lactis HN019

มีชื่อเรียกง่ายๆ ว่า B.lactis เป็นสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่สามารถทนต่อกรดในระบบทางเดินอาหาร สามารถเข้ามาช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ และยังเป็นสายพันธุ์ที่มีการศึกษาและผลทางคลินิกรองรับอีกด้วย[18] ซึ่งพบได้ในผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากนม

โพรไบโอติก Bifidobacterium lactis HN019 มีประโยชน์ต่อร่างกายในหลาย ๆ ด้าน[19] เช่น 

  • ช่วยปรับสมดุลลำไส้ ทำให้ขับถ่ายดี โดยการยึดเกาะกับผนังลำไส้ ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้ามาทำร้ายผนังลำไส้
  • ช่วยดูดซึมสารอาหาร ผ่านการผลิตเอนไซม์ที่ช่วยในการย่อยโปรตีนให้มีขนาดเล็กลง ร่างกายจึงดูดซึมได้มากขึ้น 
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เพราะโพรไบโอติกชนิดนี้จะเข้าไปยึดเกาะกับผนังลำไส้ กระตุ้นต่อมน้ำเหลืองใต้ชั้นผิวหนัง มีการสร้างภูมิคุ้มกันอย่างสมดุล

2. โพรไบโอติก Lactobacillus acidophilus NCFM

โพรไบโอติก Lactobacillus acidophilus NCFM  หรือมีชื่อย่อเรียกว่า L. acidophilus NCFM เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่มีการศึกษาและผลทางคลินิกรองรับ สามารถพบได้มากในอาหารธรรมชาติ เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว มิโซะ และอาหารจำพวกผักดอง โดยโพรไบโอติกชนิดนี้มีส่วนในการช่วยบรรเทาและรักษาอาการต่างๆ ในระบบทางเดินอาหาร เช่น

  • ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก ท้องเสีย ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ
  • ช่วยระบบทางเดินอาหาร ให้ลำไส้และกระเพาะทำงานดีขึ้น ลดอาการท้องผูกหรือท้องร่วง
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เพราะมีคุณสมบัติในการต้านไวรัสในกระเพาะอาหาร ลดโอกาสเป็นไข้หวัด รวมถึงอาการแพ้ต่าง ๆ[20]

ตารางภาพตัวอย่างการใช้โพรไบโอติกในโรคระบบทางเดินอาหารตามคำแนะนำขององค์การโรคระบบทางเดินอาหารโลก (WGO) และงานวิจัยอื่นๆ

จากในภาพตารางจะเห็นได้ชัดว่า โพรไบโอติกสายพันธุ์เฉพาะ B. lactis HN019 และ L. acidophilus NCFM จะมีความสามารถในเรื่องของการเพิ่มภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย ปรับสมดุล บรรเทาหรือรักษาโรคและอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารได้โดดเด่นกว่าโพรไบโอติกสายพันธุ์อื่นๆ

สุดท้ายนี้ อีกหนึ่งข้อแนะนำในการรับประทานโพรไบโอติกให้เกิดประโยชน์ คือการรับประทานร่วมกับอาหารที่มีใยอาหารสูงหรือที่เรียกว่า พรีไบโอติก เช่น ธัญพืช ถั่ว หัวหอมใหญ่ กระเทียม กล้วย รวมทั้งวิตามินต่างๆ ที่พบได้ในอาหารและผลไม้ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้กลับมาแข็งแรง หายขาดจาก Long COVID 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติก
www.zenbiohealth.com/th/pro-bl8-th-โพรไบโอติก

อ้างอิง[1][2][3][4][5][6][7][8][9][10][11][12][13][14] [15][16][17][18][19][20][21]

บทความที่เกี่ยวข้อง

เซนไบโอจัดแสดงสินค้าที่ สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

22 มกราคม 2024

  |  

ข่าวสาร , กิจกรรม

เซนไบโอ ได้แนะนำ ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์ Zenbio ProBL8 ที่สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพฯ

เจาะลึกโรคซึมเศร้าและประโยชน์ไซโคไบโอติก (Psychobiotics)

11 มกราคม 2024

  |  

เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ

ทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้าแต่ละประเภท สาเหตุ และอันตรายของโรค พร้อมแนะนำวิธีดูแลสภาพจิตใจพื้นฐานกับไซโคไบโอติก โพรไบโอติกช่วยโรคซึมเศร้า

โพรไบโอติกกับโรคเครียดและอาการนอนไม่หลับ

27 ธันวาคม 2023

  |  

เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ

ทำความรู้จักกับโรคเครียดและอาการนอนไม่หลับ สาเหตุ และอันตรายของโรค พร้อมแนะนำวิธีดูแลสภาพจิตใจพื้นฐานกับโพรไบโอติกช่วยปรับอารมณ์ ลดความเครียด และช่วยให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น

8 อาหารที่ควรเลี่ยง เสี่ยงตกขาว

27 ธันวาคม 2023

  |  

ความรู้อาหาร และโภชนาการ

การมีตกขาวนับเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้หญิง ที่มักจะเกิดขึ้นในทุกๆ เดือน ไม่ว่าจะเป็นในระหว่างช่วงรอบประจำเดือนหรือตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม อาการตกขาวอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า เรากำลังมีปัญหาสุขภาพช่องคลอดก็เป็นได้

รวม 5 วิธีลดน้ำหนักง่ายๆ ด้วยการคุมอาหาร

19 ธันวาคม 2023

  |  

ความรู้อาหาร และโภชนาการ

มาสำรวจวิธีการลดน้ำหนักผ่านการควบคุมการรับประทานอาหารรูปแบบต่างๆ เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายและสุขภาพที่แข็งแรง พร้อมรู้จักกับโพรไบโอติกลดน้ำหนัก

ซึมเศร้าอาการซ่อนเร้น…เอ๊ะ เราเป็นหรือเปล่า

29 พฤศจิกายน 2023

  |  

เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ

Zenbio พามาทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้าซ่อนเร้นที่หลายคนอาจยังไม่เคยทราบแตกต่างจากโรคซึมเศร้าอย่างไร พร้อมหาคำตอบกันว่าโพรไบโอติกช่วยลดซึมเศร้าได้จริงหรือไม่