รายละเอียดบทความ

8 อาหารที่ควรเลี่ยง เสี่ยงตกขาว

ธันวาคม 27, 2023

แชร์ไปยังโซเชียลมีเดีย:

ตกขาว-รวม 10 อาหารทำให้ตกขาว-โพรไบโอติก-แก้ตกขาว-
a female's eating foods that help preventing white discharge with text "8 foods to avoid to reduce white discharge" on the left.

การมีตกขาวนับเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้หญิง ที่มักจะเกิดขึ้นในทุกๆ เดือน ไม่ว่าจะเป็นในระหว่างช่วงรอบประจำเดือนหรือตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม อาการตกขาวอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า เรากำลังมีปัญหาสุขภาพช่องคลอดก็เป็นได้ ดังนั้น การสังเกตตกขาวและการดูแลสุขภาพภายในอย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นเรื่องที่ผู้หญิงทุกคนไม่ควรมองข้าม

ในบทความนี้ Zenbio จะมาแนะนำให้รู้จักกับสาเหตุตกขาว ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย และอาหารที่ควรเลี่ยง เพื่อป้องกันภาวะความไม่สมดุลในช่องคลอด รวมไปถึงวิธีดูแลรักษาช่องคลอด ช่วยลดและป้องกันปัญหาตกขาว

ตกขาว คืออะไร?[1]

ตกขาว คือ สารคัดหลั่งที่ขับจากอวัยวะในอุ้งเชิงกราน ไม่ว่าจะเป็นช่องคลอด ปากมดลูก หรือมดลูกโดยตรง ซึ่งสารคัดหลั่งนี้เกิดจากกลไกตามธรรมชาติของผู้หญิง โดยมีหน้าที่สำคัญในการช่วยหล่อลื่น รักษาความสะอาดช่องคลอด และป้องกันการติดเชื้อภายใน

โดยทั่วไป ตกขาวจะมีลักษณะเป็นเมือกขาว ใส ไม่มีสี หรือเป็นสีขาว ไม่มีกลิ่น มักจะหลั่งออกมาในปริมาณครั้งละไม่มาก แต่อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับช่วงของรอบประจำเดือน อายุ รวมไปถึงระดับฮอร์โมนเอสโทรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone)[2] ในแต่ละบุคคล ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่ควรสังเกต คือ สีของตกขาว ซึ่งเป็นปัจจัยช่วยบ่งบอกถึงสุขภาพช่องคลอด เป็นสัญญาณว่าจุลินทรีย์ประจำถิ่นที่อาศัยอยู่ของเรากำลังมีปัญหาหรือเกิดการติดเชื้อภายใน

สีของตกขาวบอกอะไรเราบ้าง?[1][3]

สีของตกขาวอาการ
สีใสหรือขาวตกขาวปกติที่พบได้ทั่วไป โดยเฉพาะช่วงเริ่มมีประจำเดือนหรือหลังหมดประจำเดือน โดยส่วนมากมีลักษณะเป็นเมือกเหนียว ไม่มีกลิ่น
สีขาวและเหนียวข้นตกขาวสีขาวที่มีลักษณะเหนียวหรือข้นกว่าปกติ หากมีอาหารคัน ระคายเคือง บวมแดงที่ช่องคลอดและปากช่องคลอด อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อราในช่องคลอด (Vaginal Yeast Infection)[4]
สีขาวขุ่นอมเหลืองจนถึงเขียวอาจมีลักษณะเหนียวเป็นก้อน หรือส่งกลิ่นเหม็นร่วมด้วย ซึ่งอาจทำให้คันและมีอาการบวมแดงที่ช่องคลอด เป็นสัญญาณของโรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis)[5] หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างโรคพยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis)[6]
สีขุ่นออกเทาไปจนถึงเทาเข้มตกขาวสีเทามักบ่งบอกถึงอาการติดเชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด โดยเฉพาะเมื่อมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ส่งกลิ่น คัน ระคายเคือง หรือบวมแดงบริเวณช่องคลอด ส่วนใหญ่สาเหตุมักมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียจากเพศสัมพันธ์
สีชมพูไปจนถึงแดงคือ ตกขาวที่หลั่งออกมาพร้อมเลือดในช่วงมีประจำเดือน เป็นสัญญาของการเริ่มต้นมีประจำเดือน แต่หากมีเลือดออกในช่วงอื่นนอกเหนือจากช่วงที่มีประจำเดือน ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ เพราะอาจจะเกิดการติดเชื้อหรือมีก้อนเนื้อภายในช่องคลอด

จะเห็นได้ว่าสาเหตุที่ตกขาวมีสีต่างๆ นั้นแตกต่างกันไป โดยโรคที่มักพบได้บ่อยๆ และทำให้ตกขาวเปลี่ยนสีจนทำให้หลายคนตกใจ คือ โรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย หรือการติดเชื้อราในช่องคลอด ซึ่งมักเกิดจากการเสียสมดุลของแบคทีเรียประจำถิ่นชนิดดี (โพรไบโอติก) ในช่องคลอด ซึ่งมีหน้าที่คอยรักษาสมดุล สร้างประโยชน์แก่ร่างกาย และยับยั้งไม่ให้จุลินทรีย์ชนิดก่อเกิดโรคไม่ให้เติบโต หากแบคทีเรียประจำถิ่นชนิดดีตายหรือลดจำนวนน้อยลง จะทำให้ค่า pH ในช่องคลอดเปลี่ยนไป และทำให้มีจำนวนแบคทีเรียชนิดก่อโรคเพิ่มจำนวนจนส่งผลต่อร่างกาย ก่อเกิดการติดเชื้อหรือโรคต่างๆ

8 อาหารควรลดและเลี่ยง ก่อนเสียสมดุลแบคทีเรียในช่องคลอด

A man's eating unhealthy food, e.g. burger, chips and deep-fried nuggets

ช่องคลอดมีแบคทีเรียอย่างแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) จำนวนมากอาศัยอยู่[7] ซึ่งทำหน้าที่ผลิตกรดแลคติก ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และสารอื่นๆ ที่ยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรียชนิดก่อโรค ซึ่งการรับประทานอาหารนั้นมีผลต่อสุขภาพและสมดุลของช่องคลอด หากมีไลฟ์สไตล์ที่มักกินอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ อาจทำให้แบคทีเรียในช่องคลอดเสียสมดุล และก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมาได้

โดยอาหารที่ควรลดและเลี่ยง เพื่อสร้างช่องคลอดสุขภาพดี ลดปริมาณตกขาว[8] [9] ได้แก่

  1. าหรือกาแฟ

การดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนบ่อยๆ มีผลรบกวนสมดุลแบคทีเรียในช่องคลอด กระตุ้นให้ร่างกายผลิตตกขาวเยอะขึ้นจนสังเกตได้ชัด เพื่อปรับให้สมดุลค่า pH กลับมาเป็นปกติ ซึ่งค่า pH ที่เหมาะสมของช่องคลอดคือ 3.8-4.5[10] นอกจากนี้ ชากาแฟยังทำให้ปัสสาวะมีความเป็นกรดมากขึ้นด้วย ดังนั้นควรลดปริมาณคาเฟอีนให้อยู่ในปริมาณที่แนะนำต่อวัน จากงานวิจัยไม่ควรรับคาเฟอีนเกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน (ประมาณ 3-4 แก้ว)[11]

  1. อาหารประเภทแป้ง

อาหารที่ประกอบด้วยแป้งเป็นหลัก เช่น ขนมปัง เส้นก๋วยเตี๋ยว และข้าวขัดขาว หรืออาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว (Simple Carbohydrates)[12] เนื่องจากร่างกายสามารถย่อยคาร์โบไฮเดรตประเภทนี้ และเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้รวดเร็ว ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นตาม ซึ่งกดภูมิคุ้มกันร่างกาย อีกทั้งเป็นแหล่งอาหารสำหรับแบคทีเรียก่อโรค[13] ส่งผลเกิดการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียก่อโรคทำให้เกิดความไม่สมดุลของช่องคลอด และมีโอกาสติดเชื้อแบคทีเรียมากขึ้น

  1. นม เนย และอาหารที่มีน้ำตาลสูง

นมและเนยมักมีส่วนผสมของน้ำตาลในปริมาณมาก โดยน้ำตาลในเลือดเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งหากแบคทีเรียชนิดก่อโรคเติบโตมากเกินไปจะส่งผลให้ค่า pH ในช่องคลอดเสียสมดุล จนเกิดอาการอักเสบและเพิ่มโอกาสติดเชื้อได้ง่าย

  1. อาหารรสเผ็ดจัด

การรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดจัดบ่อยๆ หรือในปริมาณมากเกินไป อาจส่งผลให้ค่า pH ในช่องคลอดลดลง ซึ่งเป็นการรบกวนสมดุลแบคทีเรีย เพิ่มโอกาสต่อการติดเชื้อ อีกทั้งยังกระตุ้นการหลั่งของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร หรือบางคนเกิดอาการลำไส้แปรปรวน ที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียในทางเดินอาหารเสียสมดุลนั่นเอง

  1. อาหารหมักดอง

ของหมักดอง เช่น ปลาร้า ปูดอง ปลาเค็ม สามารถกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis) ทำให้ร่างกายผลิตตกขาวออกมามากกว่าปกติ จนทำให้เกิดความอับชื้น และกลิ่นไม่พึงประสงค์ในจุดซ่อนเร้น หากต้องการรับประทานอาหารหมักดอง แนะนำให้เลือกอาหารหมักดองที่มีโพรไบโอติก เสริมจุลินทรีย์ชนิดดีให้กับช่องคลอด

  1. อาหารมัน ของทอด

นอกจากจะส่งผลต่อน้ำหนักแล้ว ของทอดหรืออาหารที่มีไขมันสูงยังเป็นสาเหตุของอาการตกขาวที่มากกว่าปกติ อีกทั้งระดับไขมันในเลือดที่มากเกินไปอาจทำให้ฮอร์โมนเพศแปรปรวนง่าย นอกจากนี้ ความอ้วนจะเพิ่มโอกาสให้จุดซ่อนเร้นเกิดอาการอับชื้น ระบายอากาศและความร้อนได้ไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้เกิดเชื้อราและกลิ่นไม่พึงประสงค์ตามมาด้วย

  1. อาหารทะเล

อาหารทะเลมีปริมาณคอเลสเตอรอลที่สูง ยังอาจจะมีสารตกค้างบางชนิดที่ปะปนในอาหารทะเล โดยสารเหล่านี้อาจกระตุ้นให้เกิดตกขาวในปริมาณมากขึ้น หรือส่งผลให้เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ มีอาการคันและระคายเคืองช่องคลอดได้ ดังนั้นควรจำกัดการรับประทานอาหารทะเลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

  1. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นมีค่าความเป็นกรดที่สูง โดยจะเข้าไปทำลายแบคทีเรียดีในช่องคลอด ส่งผลให้ช่องคลอดขาดสมดุล และมีปริมาณตกขาวหลั่งออกมามาก อีกทั้งยังทำให้ติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นควรลดปริมาณแอลกอฮอล์ หรือหลีกเลี่ยงไม่รับประทานจะดีที่สุด

แนะนำ 3 วิธีลดตกขาว สร้างสุขภาพช่องคลอดที่สมดุล

A woman's holding a womb-shaped model on her belly.
  1. ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นให้ถูกวิธี[14]

หลายคนอาจเคยได้ยินว่า ช่องคลอดเป็นอวัยวะที่สามารถทำความสะอาดตัวเองได้ ซึ่งเป็นเรื่องจริง เนื่องจากแบคทีเรียในช่องคลอดนั้นมีหน้าที่รักษาความสมดุลค่า pH ส่วนตกขาวนั้นมีหน้าที่ขับแบคทีเรียออกสู่ภายนอก ดังนั้นผู้หญิงไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดช่องคลอด (Vagina) แต่แนะนำให้รักษาความสะอาดบริเวณปากช่องคลอด (Vulva) แทน

โดยวิธีการทำความสะอาดที่เหมาะสม คือ ใช้น้ำอุ่นล้างบริเวณปากช่องคลอดจากด้านหน้าไปด้านหลัง ไม่ควรล้างกลับไปกลับมา เพื่อป้องกันไม่ให้แบคทีเรียที่อยู่บริเวณรูทวารเข้าสู่ช่องคลอด สามารถใช้สบู่อ่อนในการล้างทำความสะอาดได้ แต่ควรระวังไม่ให้เข้าไปในช่องคลอดเช่นกัน

  1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต

เริ่มต้นจากการสวมใส่กางเกงชั้นในที่เหมาะสม เพื่อลดความอับชื้นในจุดซ่อนเร้น ควรเลือกใช้กางเกงชั้นในที่มีเนื้อผ้าจากธรรมชาติ อ่อนนุ่ม และระบายอากาศได้ดี เช่น ผ้าฝ้าย (Cotton) ลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อราในช่องคลอด (Vaginal Yeast Infection) และต้องไม่ลืมเลือกขนาดที่พอดี ไม่รัดหรือหลวมเกินไป[15]

บางครั้งการที่ตกขาวมีสีเขียว เป็นฟอง และส่งกลิ่นเหม็น มีอาการแสบร้อนและคันบริเวณปากช่องคลอดและช่องคลอด อาจเกิดจากโรคพยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis เรียกสั้นๆ ว่า Trich)[16] ซึ่งเป็นการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (STI) ที่พบได้บ่อย โดยมาพร้อมกับสารคัดหลั่งของคู่นอน ดังนั้นจึงควรสวมใส่ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง

  1. รับประทานอาหารปรับสมดุลในช่องคลอด[17]

เมื่อรู้จักอาหารประเภทต่างๆ ที่ควรหลีกเลี่ยงแล้ว ยังมีอาหารหลายชนิดที่ป้องกันตกขาว ส่งผลดีต่อสุขภาพช่องคลอด เช่น

  • แครนเบอร์รี – มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (UTIs) 
  • มันเทศ – อุดมไปด้วยเบต้า-แคโรทีนและวิตามิน A ช่วยให้เยื่อเมือกในช่องคลอดมีสุขภาพดี 
  • ถั่วเหลือง – มีไฟโตเอสโตรเจน ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน โดยเฉพาะสตรีวัยก่อนหมดประจำเดือนและสตรีวัยทองที่มีระดับเอสโทรเจนในร่างกายต่ำลง
  • อาโวคาโด – อุดมไปด้วยไขมันดี วิตามิน B6 และโพแทสเซียม มีผลต่อการสร้างสารหล่อลื่นโดยธรรมชาติในช่องคลอด

สุดท้ายนี้ยังมีอาหารสำคัญอีกชนิดที่ช่วยดูแลสุขภาพช่องคลอดโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ นั่นคือ โพรไบโอติก

โพรไบโอติกลดตกขาว ปรับสมดุลช่องคลอด[7]

โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ขนาดเล็กชนิดดีที่นอกจากจะอาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหาร ยังอยู่ในช่องคลอดของผู้หญิงอีกด้วย โดยเฉพาะสายพันธุ์ Lacticaseibacillus  เพราะจุลินทรีย์เหล่านี้สามารถทนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความเป็นกรดได้ดี ซึ่งโพรไบโอติกเหล่านี้สามารถช่วยรักษาสมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอด ยับยั้งแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค ลดปัญหาจุดซ่อนเร้นมีกลิ่น ลดโอกาสเกิดภาวะการติดเชื้อในช่องคลอด และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะทางนรีเวชต่างๆ[18]

สรุป การมีตกขาวนับเป็นเรื่องธรรมชาติของผู้หญิงทุกคน แต่ก็เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงสุขภาพได้ โดยสามารถสังเกตจากสีที่เปลี่ยนไป ซึ่งหลักการสำคัญที่จะทำให้สุขภาพช่องคลอดแข็งแรง คือ การหลีกเลี่ยงอาหารที่ส่งผลเสีย ดูแลรักษาความสะอาดอย่างถูกวิธี ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง และเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์อย่าง โพรไบโอติก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญในการดูแลสุขอนามัยจุดซ่อนเร้น ช่วยป้องกันตกขาว รวมไปถึงลดความเสี่ยงในการเกิดโรคทางนรีเวชอีกด้วย ทั้งนี้โพรไบโอติกที่มีประโยชน์สามารถพบได้ในอาหาร เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว อาหารหมักดอง ดาร์กช็อคโกแลต รวมไปถึงชีสบางประเภท และอาหารผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติก[19]

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติก ที่มีสายพันธุ์เฉพาะ  แลคโตบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส NCFM (Lactobacillus acidophilus NCFM) ได้ที่ลิงค์นี้
www.zenbiohealth.com/pro-bl8-th-โพรไบโอติก/ 

อ้างอิง

[1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เซนไบโอจัดแสดงสินค้าที่ สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

22 มกราคม 2024

  |  

ข่าวสาร , กิจกรรม

เซนไบโอ ได้แนะนำ ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์ Zenbio ProBL8 ที่สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพฯ

เจาะลึกโรคซึมเศร้าและประโยชน์ไซโคไบโอติก (Psychobiotics)

11 มกราคม 2024

  |  

เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ

ทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้าแต่ละประเภท สาเหตุ และอันตรายของโรค พร้อมแนะนำวิธีดูแลสภาพจิตใจพื้นฐานกับไซโคไบโอติก โพรไบโอติกช่วยโรคซึมเศร้า

โพรไบโอติกกับโรคเครียดและอาการนอนไม่หลับ

27 ธันวาคม 2023

  |  

เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ

ทำความรู้จักกับโรคเครียดและอาการนอนไม่หลับ สาเหตุ และอันตรายของโรค พร้อมแนะนำวิธีดูแลสภาพจิตใจพื้นฐานกับโพรไบโอติกช่วยปรับอารมณ์ ลดความเครียด และช่วยให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น

8 อาหารที่ควรเลี่ยง เสี่ยงตกขาว

27 ธันวาคม 2023

  |  

ความรู้อาหาร และโภชนาการ

การมีตกขาวนับเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้หญิง ที่มักจะเกิดขึ้นในทุกๆ เดือน ไม่ว่าจะเป็นในระหว่างช่วงรอบประจำเดือนหรือตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม อาการตกขาวอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า เรากำลังมีปัญหาสุขภาพช่องคลอดก็เป็นได้

รวม 5 วิธีลดน้ำหนักง่ายๆ ด้วยการคุมอาหาร

19 ธันวาคม 2023

  |  

ความรู้อาหาร และโภชนาการ

มาสำรวจวิธีการลดน้ำหนักผ่านการควบคุมการรับประทานอาหารรูปแบบต่างๆ เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายและสุขภาพที่แข็งแรง พร้อมรู้จักกับโพรไบโอติกลดน้ำหนัก

ซึมเศร้าอาการซ่อนเร้น…เอ๊ะ เราเป็นหรือเปล่า

29 พฤศจิกายน 2023

  |  

เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ

Zenbio พามาทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้าซ่อนเร้นที่หลายคนอาจยังไม่เคยทราบแตกต่างจากโรคซึมเศร้าอย่างไร พร้อมหาคำตอบกันว่าโพรไบโอติกช่วยลดซึมเศร้าได้จริงหรือไม่