จากงานวิจัยของหลากหลายสถาบันที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการแพทย์ โพรไบโอติก มีประโยชน์เป็นส่วนหนึ่งช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่าแล้ว โพรไบโอติก ช่วยอะไร? แล้วทำไมโพรไบโอติกถึงช่วยแก้ปัญหาท้องผูกได้ วันนี้ทีมงาน Zenbio จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของโพรไบโอติกต่อการแก้ท้องผูก พร้อมคำแนะนำวิธีเลือกซื้อโพรไบโอติกอย่างเหมาะสม ว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ควรจะพิจารณาสำหรับโพรไบโอติกที่ช่วยเรื่องระบบขับถ่าย
โพรไบโอติก ช่วยอะไร?
โพรไบโอติก คือ แบคทีเรียดีที่อยู่ในร่างกาย ซึ่งแต่ละสายพันธุ์จะให้ประโยชน์กับร่างกายได้แตกต่างกัน โพรไบโอติกจึงช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อฉวยโอกาสในร่างกาย รักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายที่เสียไป เหนี่ยวนำและกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้มีการสร้างสารป้องกันและทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างดี ป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรคจับตัวบนเยื่อบุลำไส้ ซึ่งหากมีเชื้อก่อโรคมายึดเกาะอาจทำให้ลำไส้อักเสบหรือปวดบีบบริเวณท้องได้
หน้าที่สำคัญของโพรไบโอติก คือ การบรรเทาอาการท้องผูกผ่านการปรับสมดุลจุลินทรีย์และลดความเป็นกรด-ด่างภายในลำไส้ ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวมากขึ้น กระตุ้นการบีบตัวของผนังลำไส้ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาผลาญให้ดีขึ้น
หลังจากที่ทราบแล้วว่า โพรไบโอติก ช่วยอะไร? และแก้ท้องผูกได้อย่างไร? เรามาทราบกันต่อเลยว่า “ท้องผูก” ส่งผลอะไรต่อร่างกายเราบ้าง
ปัญหาท้องผูก ระบบขับถ่ายมีปัญหา
โดยปกติแล้ว ร่างกายจำเป็นต้องขับของเสียออกเป็นประจำ แต่การที่เราไม่สามารถขับถ่ายได้อย่างปกติ ใช้ระยะเวลานานในการขับถ่าย ถ่ายไม่สุด ถ่ายออกมาได้น้อย รวมถึงรู้สึกว่ามีอะไรมาอุดกั้นบริเวณทวารหนัก และในบางคนอาจต้องใช้นิ้วมือ หรือน้ำช่วยในการช่วยขับถ่าย ไปจนถึงความถี่ในการขับถ่ายลดลงกว่าปกติ อุจจาระมีลักษณะแข็ง มีขนาดเล็ก ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้อาจบ่งบอกถึงปัญหาท้องผูกที่เกิดขึ้น
โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกเกิดขึ้นได้จากหลายพฤติกรรม เช่น การดื่มน้ำน้อย การขยับตัวน้อย ไม่ทานผักผลไม้ที่มีไฟเบอร์ จนทำให้อุจจาระมีลักษณะแข็งตัว นอกจากนี้ยังเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคที่เกี่ยวข้องกับสมองและไขสันหลัง เบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง โรคพาร์กินสัน ภาวะลำไส้แปรปรวน ไปจนถึงกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งหรือเนื้องอกที่ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก รวมถึงการรับประทานยาบางชนิดที่สามารถทำให้ท้องผูกได้ เช่น ยาลดความดันโลหิต ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของ Morphine ยาบำรุงเลือดที่มีส่วนผสมของธาตุเหล็ก ยาลดกรดหรือวิตามิน และยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs
เมื่อมีปัญหาท้องผูกเรื้อรังจะส่งผลให้มีภาวะเครียด ไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่า อาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว และเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาอีกได้ เช่น โรคริดสีดวง ไส้เลื่อน นอกจากนี้อาการท้องผูกยังเป็นอาการเริ่มแรกของโรงมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้อุดตัน อย่างไรก็ตาม หากเกิดปัญหาท้องผูกเรื้อรัง ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป[2]
ปรับพฤติกรรมการขับถ่ายและการรับประทาน
สำหรับผู้มีอาการท้องผูกในระยะเบื้องต้น เพียงปรับพฤติกรรมบางอย่าง ก็ช่วยให้บรรเทาอาการท้องผูกได้แล้ว เช่น
- การทานอาหารที่มีกากใยสูง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ให้เร็วขึ้นและเพิ่มปริมาณอุจจาระ โดยมีทั้งธัญพืชเต็มเมล็ด ถั่ว ผักใบเขียวต่างๆ ควรทานอย่างน้อย 25-30 กรัม/วัน [3]
- การดื่มน้ำให้เพียงพอ การดื่มน้ำให้เพียงพอ จะช่วยลดอาการท้องผูก โดยการดื่มน้ำนอกจากจะช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้แล้ว ยังช่วยทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น ทำให้กากใย พองตัว และนิ่ม จึงทำให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น ใครที่อยากร่างกายแข็งแรงควรดื่มน้ำหลังตื่นนอนทุกเช้า เพื่อเป็นการปลุกระบบย่อยอาหารและการขับถ่ายให้ตื่นตัว
- การออกกำลังกาย ช่วยกระตุ้นการเคลื่อนตัวของลำไส้ใหญ่ ทำให้ลำไส้ใหญ่หดตัวและคลายตัวดีขึ้น สามารถเริ่มต้นด้วยการวิ่งเหยาะๆ หรือเคลื่อนไหวด้วยการบิดหรือพับช่วงเอว สำหรับใครที่อยากจะขับถ่ายง่าย สามารถนวดท้องส่วนล่างซ้ายและกดเบาๆ ก็จะเป็นการกระตุ้นการทำงานของลำไส้ได้
- ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา โดยแนะนำให้เข้าห้องน้ำช่วงเช้าประมาณ 05.00-07.00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่ลำไส้ใหญ่ทำงาน ขับกากอาหารและของเสียออก ควรที่จะเข้าห้องน้ำและขับถ่ายช่วงเวลาดังกล่าวเพื่อให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ หากช่วงเวลาที่เข้าห้องน้ำยังไม่รู้สึกปวด สามารถที่จะใช้ฝ่ามือนวดตามหน้าท้อง วนตามเข็มนาฬิกาพร้อมแขม่วท้องก็จะช่วยให้รู้สึกปวดและพร้อมถ่ายได้ แต่ไม่ควรที่จะนั่งชักโครกนานเกินไปเพราะอาจทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคริดสีดวงได้
- การทานโพรไบโอติก ดังที่กล่าวไปข้างต้น เนื่องจากเป็นการช่วยเพิ่มแบคทีเรียดีในการย่อยอาหาร ปรับสมดุลลำไส้ให้ทำงานเป็นปกติและช่วยดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ สามารถเลือกทานได้ทั้งโยเกิร์ต กิมจิ นัตโตะ หรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโพรไบโอติกที่วางจำหน่ายทั่วไป
โพรไบโอติก ยี่ห้อไหนดี? ช่วยในการขับถ่าย
สำหรับใครที่อยากมีร่างกายแข็งแรงและสุขภาพที่ดีแล้ว การเลือกผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโพรไบโอติกก็เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ที่ไม่อยากทานอาหารหมักหรือแพ้นม แต่ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโพรไบโอติกในท้องตลาดมีเป็นจำนวนมาก หลายคนอาจสงสัยว่าควรเลือกกินโพรไบโอติกยี่ห้อไหนดี? ต้องเลือกอย่างไร? ดังนั้น Zenbio จึงอยากจะขอแนะนำปัจจัยที่ควรคำนึง หรือเกณฑ์ในการเลือกซื้อมีดังนี้
1. เลือกสายพันธุ์โพรไบโอติกที่มีการศึกษารับรอง
เนื่องจากโพรไบโอติกมีหลากหลายสายพันธุ์ และแต่ละตัวมีประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านที่แตกต่างกันไป สำหรับใครที่ต้องการบรรเทาอาหารท้องผูก การเลือกโพรไบโอติกสายพันธุ์แล็กโทบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส (Lactobacillus acidophilus) หรือบิฟิโดแบคทีเรียม แล็กทิส (Bifidobacterium lactis) ที่มีงานวิจัยว่าช่วยบรรเทาอาการท้องผูก ลดอาการลำไส้แปรปรวน และกระตุ้นการทำงานของระบบทางเดินอาหาร พร้อมเสริมภูมิคุ้มกัน
2. ควรเลือกผลิตภัณฑ์ซินไบโอติก
ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมทั้งโพรไบโอติก และพรีไบโอติก โดยพรีไบโอติกเป็นใยอาหารชนิดละลายน้ำ และเป็นอาหารของโพรไบโอติก เป็นตัวช่วยเพิ่มปริมาณและประสิทธิภาพของโพรไบโอติก
3. มีปริมาณโพรไบโอติกที่เหมาะสม
ผู้บริโภคควรดูปริมาณโพรไบโอติกจากฉลากของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ว่ามีจำนวนเชื้อแบคทีเรีย (CFU) ปริมาณเท่าใร ซึ่งควรมีจำนวนไม่มากหรือน้อยเกินไป
โดยปริมาณที่เหมาะสม ควรอ้างอิงจากงานวิจัยเพื่อรับรองถึงประสิทธิผล หากมีปริมาณโพรไบโอติกที่น้อยเกินไป โพรไบโอติกอาจถูกทำลายจากกรดในกระเพาะอาหารก่อนเดินทางถึงลำไส้ จึงต้องมีปริมาณมากพอควร แต่หากมีปริมาณที่มากเกินไป อาจก่อเกิดความเสี่ยงต่อการแพ้เมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกาย เช่น ท้องอืด มีแก๊ส และคลื่นไส้ [5] [6]
4. วิธีการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์
หากต้องการทานโพรไบโอติกให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ควรต้องเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น หากบรรจุภัณฑ์ไม่ได้คุณภาพ และวิธีการเก็บรักษาไม่ดี อาจทำให้เชื้อจุลินทรีย์ตาย ซึ่งจะทำให้ไม่ได้ประโยชน์สูงสุดเมื่อรับประทานเข้าไป [6]
5. เลือกจากวิธีการรับประทาน
โดยทั่วไปโพรไบโอติกมักจะมีลักษณะเป็นผงแป้ง สามารถชงกับน้ำหรือรับประทานได้ทันที, เจลลี่ แบบเม็ดหรือแคปซูล ซึ่งแล้วแต่ความสะดวกในการทาน
สุดท้ายนี้ คงตอบคำถามได้แล้วว่า โพรไบโอติก ช่วยเรื่องอะไร และทำไมโพรไบโอติกสามารถบรรเทาอาการท้องผูกได้ พร้อมรู้แล้วว่าต้องเลือกโพรไบโอติกอย่างไร
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติก
https://www.zenbiohealth.com/th/pro-bl8-th-โพรไบโอติก/