รายละเอียดบทความ

มาทำความรู้จักกับการปลูกถ่ายจุลินทรีย์ในอุจจาระ (Fecal Microbiota Transplant)

พฤศจิกายน 28, 2023

แชร์ไปยังโซเชียลมีเดีย:

ปลูกถ่ายจุลินทรีย์-ปลูกถ่ายโพรไบโอติก-Fecal Microbiota Transplant-รักษาโรคด้วยโพรไบโอติก

บทความโดย ดร.วริทธิ์ ศรีสุขทวีรัตน์

กระแสการแพทย์ทางเลือกเป็นที่รู้จักและเป็นนิยมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของการใช้จุลินทรีย์ที่ดี มาใช้ในการส่งเสริม ดูแลรักษาสุขภาพ เป็นที่รู้จักและเป็นที่แพร่หลายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของ โพรไบโอติกส์ ที่มีการศึกษาวิจัย เพื่อศึกษาเชื้อแต่ละสายพันธุ์ ว่ามีส่วนช่วยในส่งเสริมสุขภาพในแต่ละระบบของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น เรื่องภูมิคุ้มกัน เรื่องระบบทางเดินอาหาร ไขมันและหลอดเลือด เป็นต้น จึงเป็นที่แน่ชัดว่า การได้รับจุลินทรีย์ที่ดีนั้น มีส่วนช่วยในการส่งเสริมสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น โดยนอกเหนือจากการรับประทานอาหารเสริมที่เป็นที่รู้จัก ที่เรียกว่า โพรไบโอติกส์ แล้วนั้น ได้มีการศึกษาและค้นพบการแพทย์ทางเลือกที่เป็นนวัตกรรมการปลูกถ่ายจุลินทรีย์เข้าไปในร่างกายมนุษย์ เพื่อใช้ในการรักษาโรค และเป็นทางเลือกในการรักษาให้แก่ผู้ป่วย เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้นโดยการปลูกถ่ายจุลินทรีย์เข้าไปในร่างกายมนุษย์นี้เรียกว่า Fecal Microbiota Transplant หรือ การปลูกถ่ายจุลินทรีย์ในอุจจาระ

จุดเริ่มต้นความแพร่หลายในการใช้

Fecal Microbiota Transplant เป็นการปลูกถ่ายจุลินทรีย์เข้าไปในร่างกายมนุษย์ โดยเป็นการใช้อุจจาระในการปลูกถ่าย โดยครั้งแรกที่เริ่มมีการทดลองการปลูกถ่ายจุลินทรีย์ด้วยวิธี
Fecal Microbiota Transplant เกิดการผู้ป่วยที่มีสมดุลในลำไส้มีความผิดปกติ จึงมีความจำเป็นต้องหาชนิดของ โพรไบโอติกส์ ที่เหมาะสมกับผู้ป่วย จึงมีการทดสอบในสัตว์ทดลอง โดยการเอาอุจจาระของสัตว์ทดลองสุขภาพดีสวนเข้าทางทวารสัตว์ทดลองที่มีความผิดปกติ ผลปรากฏว่ามีแนวโน้มที่ดีขึ้น จึงมีการพัฒนามาทดลองในคน โดยมีการนำอุจจาระสวนเข้าไปเพื่อให้อุจจาระของคนที่มีโพรไบโอติกส์ที่ดีเข้าไปอยู่ในคนไข้ ผลปรากฏว่าประสบความสำเร็จ ผู้ป่วยมีอาการที่ดีจากการปลูกถ่ายจุลินทรีย์

ปัจจุบันวิธีดังกล่าวจึงถูกนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาการติดเชื้อที่ชื่อว่า Clostridium difficile (C. diff ) เป็นเชื้อที่สามารถส่งผลทำให้ระบบทางเดินอาหารแปรปรวนโดยเฉพาะเกิดอาการท้องเสียและทำให้ลำไส้อักเสบ ซึ่งสาเหตุของการติดเชื้อ Clostridium difficile มีสาเหตุที่เกิดจากการรับประทานยาปฏิชีวนะ ที่เรามักสามารถหาซื้อด้วยตนเองตามร้านขายยาโดยที่มิได้มีการปรึกษาแพทย์ ซึ่งการเลือกซื้อยาปฏิชีวนะด้วยตนเองอาจส่งผลต่อการการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม ส่งผลต่อร่างกายโดยเฉพาะทางเดินอาหารที่ปกติร่างมนุษย์จะมีเชื้อประจำถิ่น (Normal flora bacteria) ที่อยู่ในระบบทางเดินทางอาหารที่คอยปรับสมดุลในทางเดินอาหาร และช่วยในการยับยังการเจริญเติบโตของเชื้อ Clostridium difficile ซึ่งเมื่อรับประทานปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมจึงส่งผลทำให้ไปฆ่าเชื้อ และลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียประจำถิ่น (normal flora bacteria) ในระบบทางเดินอาหาร  ส่งผลทำให้เชื้อ Clostridium difficile เจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนขึ้น เกิดการสร้างพิษเกิดขึ้นส่งผลการทำงานของลำไส้ที่ผิดปกติ โดยมักเกิดอาการถ่ายเหลว และสารพิษนั้นยังไปทำลายเยื่อบุทางเดินอาหารจึงส่งผลให้นำไปสู่การอักเสบที่รุนแรง ในบางรายอาจมีการขับถ่ายเป็นน้ำปนมูกเลือด นอกจากอาการดังกล่าวที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ Clostridium difficile มักพบว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อมักอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิเช่น ไข้สูง ปวดท้องบริเวณด้านล่างหรือปวดทั่วท้อง ท้องอืด เป็นต้น นอกเหนือจากปัจจัยการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสมแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น การรับประทานยาลดกรด การได้รับยาเคมีบำบัดหรือกลุ่มยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ป่วยที่เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง เป็นต้น ปัจจัยดังกล่าวอาจส่งผลทำให้มีโอกาสติดเชื้อ Clostridium difficile มากยิ่งขึ้น ซึ่งแนวทางในการรักษาการติดเชื้อดังกล่าวนั้นโดยปกติแล้วมักให้รับประทานยาปฏิชีวนะ แต่ถึงอย่างไรก็ตามมีการพบว่าการเลือกใช้ Fecal Microbiota Transplant เป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับประสิทธิผลที่น่าพึงพอใจ และได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการใช้ยาปฏิชีวนะ จากการที่มีนำจุลินทรีย์ที่มีชีวิตจากอุจจาระคนหนึ่งเข้าสู่ลำไส้ใหญ่อีกคน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนถ่ายหรือการนำสิ่งมีชีวิตไปใส่ให้อีกคนหนึ่ง โดยเพื่อเป็นการเพิ่มจุลินทรีย์ประจำถิ่นที่ดีและชดเชยจุลินทรีย์ประจำถิ่นจากการถูกทำลายจากการกินยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม

โดยสรุปในปัจจุบันแนวทางในการใช้การปลูกถ่ายจุลินทรีย์โดยวิธีการ Fecal Microbiota Transplant ยังมุ่งเน้น ผู้ที่มีภาวะติดเชื้อ Clostridium difficile เป็นหลัก เป็นถูกจัดเป็นการแพทย์ทางเลือกที่ได้รับความสนใจและเริ่มมีการใช้มากขึ้นโดยเฉพาะในที่มีภาวะติดเชื้อ Clostridium difficile เนื่องจากมีรายงานถึงความสำเร็จในการรักษาที่สูง และยังเป็นโยชน์ในเชิงการรักษาซึ่งส่งผลช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ได้รับการติดเชื้อมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นหลังได้รับการรักษา

เทคนิควิธีการปลูกถ่าย การเตรียมตัวในการปลูกถ่ายจุลินทรีย์

การปลูกถ่ายจุลินทรีย์ โดยวิธีการ Fecal Microbiota Transplant สามารถแบ่งได้ 2 วิธีหลักนั้นคือ รูปแบบของการสวนทวาร และรูปแบบของการรับประทาน โดยรูปแบบของการสวนทวารนั้นคือการนำอุจจาระของคนที่มีสุขภาพดี นำมาใส่สายสวนเข้าไปทางทวารหนัก และทำการสวนเข้าไป และอีกรูปแบบหนึ่งคือการรับประทานปาก โดยแบ่ง 2 วิธีย่อย หนึ่งคือการใส่สายยางให้อาหารเข้าทางจมูก
(NG tube) และอีกวิธีหนึ่งคือการรับประทานรูปแบบแคปซูล ซึ่งจะมีความสะดวกสบายง่ายต่อการปลูกถ่ายจุลินทรีย์ โดยการนำอุจจาระของคนที่มีสุขภาพดีนำมาทำกระบวนการ Lyophilization คือเป็นกระบวนการทำแห้งโดยใช้ด้วยการแช่เยือกแข็ง โดยจะได้อุจจาระที่มีการทำแห้ง มาผ่านกระบวนการกลบกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์เพื่อให้รับประทานง่ายยิ่งขึ้น และจะนำมาใส่แคปซูล เพื่อแบ่งโดสการรับประทาน โดยคนไข้อาจกินต่อเนื่องกัน เป็นเวลา 3 วัน 5 วัน หรือ 7 วัน แล้วแต่บุคคล ซึ่งโดยปกติจะให้ผู้ป่วยรับประทานประมาณ 3 วัน ซึ่งในคนไข้บางรายอาจจะทำทั้ง 2 วิธี คือสวนทวาร และรับประทานไปพร้อมกัน โดยปัจจุบันองค์การอาหารและยาของต่างประเทศได้อนุมัติให้ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Clostridium difficile โดยจัดเป็นทั้งยาและสารชีวภาพ ใช้กับคนไข้ที่ติดเชื้อ Clostridium difficile ซ้ำและรักษาด้วยวิธีมาตรฐานไม่ได้ผล

นอกจากวิธีในการปลูกถ่าย สิ่งสำคัญคือการคัดกรองของผู้ที่บริจาค หรือ ผู้ให้ โดยผู้ให้ต้องถูกการคัดกรอง เป็นผู้ซึ่งมีสุขภาพดี รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ ไม่มีความเครียด ไม่ได้รับยาปฏิชีวนะบ่อยครั้ง เนื่องจากอาจจะส่งผลกระทบต่อเชื้อสายพันธุ์ที่เชื้อดื้อยา ที่ถูกจะส่งผ่านทางอุจจาระ และสิ่งที่สำคัญคือการคัดกรองโดยการนำอุจจาระที่ได้รับมาตรวจเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อตรวจดูจุลินทรีย์ที่ก่อโรค หรือมีเชื้ออื่นๆ ที่แอบแฝงหรือไม่ โดยอาจมีความจำที่ต้องตรวจอย่างละเอียดลึกไปยังดีเอ็นเอของเชื้อโรคเพื่อความปลอดภัยของผู้รับ ในทางกลับกันในผู้รับการปลูกถ่ายนั้น ควรไม่ผู้รับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เนื่องจากหากมีภสวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้เกิดความเสี่ยงของการติดเชื้อ จากปลูกถ่าย ถ่ายทอดมาก็ได้

การปลูกถ่ายจุลินทรีย์ด้วยวิธี Fecal Microbiota Transplant สิ่งที่สำคัญที่ควรคำนึงถึงคือ ผู้ที่ให้อุจจาระที่ในการปลูกถ่ายควรเป็นผู้ที่มีสุขภาพที่ดี  โดยได้รับคัดครองอย่างละเอียดเพื่อนำอุจจาระนำไปใช้สำหรับการปลูกถ่าย ทั้งด้านพฤติกรรมของผู้ให้และคุณภาพที่ต้องได้รับการตรวจเช็คอย่างละเอียดเพื่อไม่ให้เกิดความผิดผลาดในการปลูกถ่าย เช่นเดียวกันผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายควรต้องถูกประเมินโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้การปลูกถ่ายนั้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ประโยชน์หรือโรคที่ใช้รักษา

นอกเหนือจากการใช้ในการรักษาการติดเชื้อ Clostridium difficile (C. diff ) ในทางการดูแลสุขภาพ (Wellness) มีคนไข้อีกกลุ่มหนึ่งที่มีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหารไม่ว่า โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS) ภาวะจุลินทรีย์ในลำไส้เล็กเจริญเติบโตมากผิดปกติ (Small Intestinal Bacterial Overgrowth; SIBO) หรือ คนไข้ที่มีปัญหาเรื่องการติดเชื้อต่างๆ ทำให้ระบบลำไส้เคลื่อนตัวผิดปกติ ซึ่งส่งผลต่อสมดุลในระบบลำไส้ มีการพูดถึงการทำ Fecal Transplant อาจสามารถใช้ในการรักษาผู้ป่วยได้ และในอนาคต Fecal Transplant อาจจะสามาถใช้สำหรับผู้มีปัญหา ภาวะเมแทบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โดยปัจจุบันมีการวิจัยว่าการปลูกถ่ายโดยการฝัง อุจจาระ ของคนที่มีโพรไบโอติกส์ที่ดีเข้าไป อาจสามารถลดความเสี่ยงของการดื้อต่ออินซูลิน และยังอาจจะไปช่วยในการลดน้ำหนัก เนื่องจากมีการทดลองทำใน สัตว์ทดลอง แล้วประสบความสำเร็จในควบคุมน้ำหนักได้ดี จึงมีการพูดถึงการทำการทดลองในมนุษย์ ซึ่งปัจจุบันแนวคิดที่ใช้ในการดูแลต่างๆ ที่กล่าวมานั้น ยังเป็นแค่เพียงความเชื่อว่าอาจมีประโยชน์กับโรคดังกล่าวแต่ยังไม่มีงานวิจัยสนับสนุนที่มีน้ำหนักเพียงพอต่อการใช้รักษาภาวะดังกล่าว

ในอีกมุมหนึ่งคือการดูแลสุขภาพในอนาคต หากมีการทดลองและมีผลลัพธ์ที่มีแนวโน้มที่ดีที่ใช้ในการใช้บำรุงสุขภาพอาจมีความเป็นไปได้ที่ใช้ในการดูแลสุขภาพในกลุ่มที่มีปัญหาเรื่องระบบทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็นทางอืด ลำไส้เคลื่อนตัวไม่ดี ท้องเสีย ท้องอืดบ่อยครั้ง อาจมีการใช้ Fecal Transplant ในรูปแบบแคปซูลในการดูแลสุขภาพ เพราะง่ายต่อการใช้ แต่ก็ข้อจำกัด เรื่องของการคุมกลิ่น เพราะ หลังจากการรับประทานแล้วอาจมีการเรอเกิดขึ้นซึ่งอาจจะก่อกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์และส่งผลต่อภาพลักษณ์ของผู้ที่รับประทานจึงอาจจะต้องหาวิธีในการจัดการเรื่องของ กลิ่น โดยการพัฒนาในรูป ยา เม็ด แคปซูล ต่อไป และข้อควรระวังสำหรับสิ่งผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายต้องพิจารณาต้องไม่ใช้ผู้มีภูมิต้านทานบกพร่อง และใช้ยากดภูมิ หากเป็นกลุ่มดังกล่าวต้องระมัดระวังในการใช้

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โพรไบโอติกส์ได้ที่

  1. รู้จักกับโพรไบโอติกส์จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์
  2. โพรไบโอติกส์กับการเสริมสร้าง ภูมิคุ้มกัน
  3. รู้จักกับจุลินทรีย์ชนิดดี B. lactis HN019 และประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกันและทางเดินอาหาร
  4. ทำความรู้จักกับประโยชน์ของจุลินทรีย์ “แลคโตบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส”สายพันธุ์ NCFM
  5. รู้ลึก รู้จริง ประโยชน์ของ โพรไบโอติกส์ ในระบบทางเดินอาหาร

ติดต่อหรือติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่

📢 Facebook: https://www.facebook.com/zenbiohealth
📲 Call: 02 727 7521
📧 Email: [email protected]

โพรไบโอติก ยี่ห้อ ไหนดี, อาหารเสริม, ทาน แล้ว เห็นผล, โพรไบโอติกดีที่สุด, best probiotic, อาหารเสริมโพรไบโอติก, เลือกยี่ห้อไหนดี, ยี่ห้อไหนดีสุด, Zenbio, พรีไบโอติก, ซินไบโอติก, อาหารเสริมธรรมชาติ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เซนไบโอจัดแสดงสินค้าที่ สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

22 มกราคม 2024

  |  

ข่าวสาร , กิจกรรม

เซนไบโอ ได้แนะนำ ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์ Zenbio ProBL8 ที่สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพฯ

เจาะลึกโรคซึมเศร้าและประโยชน์ไซโคไบโอติก (Psychobiotics)

11 มกราคม 2024

  |  

เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ

ทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้าแต่ละประเภท สาเหตุ และอันตรายของโรค พร้อมแนะนำวิธีดูแลสภาพจิตใจพื้นฐานกับไซโคไบโอติก โพรไบโอติกช่วยโรคซึมเศร้า

โพรไบโอติกกับโรคเครียดและอาการนอนไม่หลับ

27 ธันวาคม 2023

  |  

เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ

ทำความรู้จักกับโรคเครียดและอาการนอนไม่หลับ สาเหตุ และอันตรายของโรค พร้อมแนะนำวิธีดูแลสภาพจิตใจพื้นฐานกับโพรไบโอติกช่วยปรับอารมณ์ ลดความเครียด และช่วยให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น

8 อาหารที่ควรเลี่ยง เสี่ยงตกขาว

27 ธันวาคม 2023

  |  

ความรู้อาหาร และโภชนาการ

การมีตกขาวนับเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้หญิง ที่มักจะเกิดขึ้นในทุกๆ เดือน ไม่ว่าจะเป็นในระหว่างช่วงรอบประจำเดือนหรือตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม อาการตกขาวอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า เรากำลังมีปัญหาสุขภาพช่องคลอดก็เป็นได้

รวม 5 วิธีลดน้ำหนักง่ายๆ ด้วยการคุมอาหาร

19 ธันวาคม 2023

  |  

ความรู้อาหาร และโภชนาการ

มาสำรวจวิธีการลดน้ำหนักผ่านการควบคุมการรับประทานอาหารรูปแบบต่างๆ เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายและสุขภาพที่แข็งแรง พร้อมรู้จักกับโพรไบโอติกลดน้ำหนัก

ซึมเศร้าอาการซ่อนเร้น…เอ๊ะ เราเป็นหรือเปล่า

29 พฤศจิกายน 2023

  |  

เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ

Zenbio พามาทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้าซ่อนเร้นที่หลายคนอาจยังไม่เคยทราบแตกต่างจากโรคซึมเศร้าอย่างไร พร้อมหาคำตอบกันว่าโพรไบโอติกช่วยลดซึมเศร้าได้จริงหรือไม่