โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายที่ได้รับความนิยมอย่างมาก หลังจากเหตุการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้คนส่วนใหญ่ได้รับความรู้จากหลากหลายสื่อและองค์กรจนตระหนักถึงความสำคัญของระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อต้องการให้ประชาชนปกป้องร่างกายจากการติดโรคโควิด-19 คนส่วนใหญ่จึงเริ่มหันมาหาอาหารเสริมทางเลือกที่เป็นตัวช่วยเพิ่มระดับภูมิคุ้มกัน และโพรไบโอติกได้เป็นหนึ่งในตัวเลือกสำคัญลำดับต้น ๆ จากความต้องการนี้ จากงานวิจัยบ่งชี้ว่าโพรไบโอติกเสริมภูมิคุ้มกันด้วยการปรับสมดุลระบบทางเดินอาหารให้แข็งแรง (ซึ่ง 80% ของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอยู่ที่ระบบทางเดินอาหาร[8]) ทำให้โพรไบโอติกเป็นที่ยอมรับเป็นอย่างมาก หากขาดโพรไบโอติกมากเกินไปจนปริมาณจุลินทรีย์ในร่างกายไม่สมดุล ร่างกายจะเริ่มมีสัญญาณเตือนที่บอกว่า ถึงเวลาที่เราจะต้องหาวิธีการแก้ปัญหาสุขภาพ ดังนั้น Zenbio ขอพาทุกคนมารู้จักโพรไบโอติกว่าคืออะไรและโพรไบโอติกกับภูมิคุ้มกันมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ปัจจัยใดที่ทำให้โพรไบโอติกลดลง สัญญาณเตือนว่าร่างกายอ่อนแอเพราะขาดโพรไบโอติกมีอะไรบ้าง?
โพรไบโอติก คืออะไร?
โพรไบโอติก คือ เชื้อจุลินทรีย์ขนาดเล็กหรือแบคทีเรียดีที่มีประโยชน์ต่อร่างกายที่อยู่ในระบบทางเดินอาหารและระบบอื่นๆ ซึ่งจุลินทรีย์ดีเหล่านี้จะเข้าไปสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้เป็นปกติ เนื่องจากโพรไบโอติกมีความสามารถทนต่อความเป็นกรดในระบบทางเดินอาหาร และอยู่ที่บริเวณผิวของเยื่อบุลำไส้ เพื่อผลิตสารต่อต้านหรือกำจัดเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ
นอกจากนี้ โพรไบโอติกยังมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างมาก โพรไบโอติกส์ช่วยเสริม การทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ป้องกันเชื้อโรคได้ดียิ่งขึ้น เมื่อร่างกายเกิดการติดเชื้อมาจากบริเวณอื่น ระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง จะช่วยสร้างสารออกมาปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรค อีกทั้งยังป้องกันร่างกายจากการอักเสบได้ดียิ่งขึ้น โพรไบโอติกยังช่วยต่อต้านการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดไม่ดีที่ก่อให้เกิดโรคอีกด้วย กล่าวได้ว่าโพรไบโอติกเสริมภูมิคุ้มกัน และปรับความสมดุลของระบบทางเดินอาหาร (สำหรับใครที่สนใจอยากรู้จักโพรไบโอติกเชิงลึก สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่)
โดยทั่วไป เราสามารถรับโพรไบโอติกได้จากการรับประทาน โดยใครที่สงสัยว่าโพรไบโอติกกินตอนไหน ที่จริงโพรไบโอติกสามารถทานตอนไหนก็ได้ แต่ขอแนะนำให้ทานก่อนมื้ออาหารหรือตอนท้องว่างเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
สาเหตุที่ทำให้โพรไบโอติกในร่างกายลดลง
โดยทั่วไป หากเรามีพฤติกรรมปกติ ร่างกายก็จะมีการรักษาสมดุลต่างๆ ได้ แต่ในบางครั้งพฤติกรรมบางอย่างสามารถทำลายโพรไบโอติกได้ อาทิเช่น
1. พฤติกรรมการใช้ชีวิต
การใช้ชีวิตที่เร่งรีบ การขาดการออกกำลังกาย การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือความเครียด อาจทำให้โพรไบโอติกในร่างกายลดลง และอาจจะส่งผลให้ร่างกายฟื้นฟูและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้ผู้ที่มีอาการป่วยจนต้องรับยารักษาหรือยาปฏิชีวนะ ซึ่งยาปฏิชีวนะหรือยาบางชนิดอาจเข้าไปทำลายจุลินทรีย์ที่ดีในร่างกายได้
2.พฤติกรรมการกิน
พฤติกรรมการกินถือเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้โพรไบโอติกในร่างกายลดลงได้ เช่น การทานอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไป การบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของแป้งที่ผ่านการขัดสี การดื่มแอลกอฮอล์ หรือ การกินเนื้อสัตว์แปรรูป อาหารสำเร็จรูปเป็นประจำ สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดสารอนูมูลอิสระในร่างกาย[4] โดยหากเราทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ก็จะส่งผลต่อลำไส้และระบบภูมิคุ้มกัน เพราะ 80% ของระบบภูมิคุ้มกันอยู่ที่ระบบย่อยอาหารและลำไส้
5 สัญญาณเตือนว่าร่างกายกำลังขาดโพรไบโอติก
เมื่อจุลินทรีย์ที่ดีในร่างกายลดลง ก็จะส่งผล ดังต่อไปนี้
1. ระบบภูมิคุ้มกันลดลง
หากรู้สึกว่าไม่สบายบ่อย เป็นหวัดง่าย และใช้เวลารักษานานกว่าปกติ รวมถึงมีภาวะภูมิแพ้ง่าย เช่น ผื่นขึ้น เป็นภูมิแพ้กำเริบ ไอ จามมากยิ่งขึ้น อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายกำลังขาดโพรไบโอติก เนื่องจากโพรไบโอติกเสริมภูมิคุ้มกันจากการกระตุ้นการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายให้สมดุล และช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ก่อโรค
2. ระบบขับถ่ายมีปัญหา
เมื่อมีอาการท้องผูก ท้องเสีย ขับถ่ายยาก หรือมีอาการลำไส้แปรปรวน นั่นอาจหมายถึงสมดุลจุลินทรีย์ภายในร่างกายมีปัญหา ซึ่งโพรไบโอติกจะเข้าไปปรับสมดุลในลำไส้ ช่วยให้ลำไส้สามารถทำงานได้เป็นปกติ ลดปริมาณจุลินทรีย์ชนิดไม่ดี และกำจัดเชื้อโรคได้
3.ระบบย่อยอาหารหรือการเผาผลาญมีปัญหา
แบคทีเรียชนิดดีจากโพรไบโอติกจะสามารถผลิตกรดไขมันสายสั้น (Short-chain fatty acids) ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบย่อยอาหารของร่างกาย นอกจากนี้โพรไบโอติกยังช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ได้ ถ้าหากร่างกายขาดโพรไบโอติก อาจส่งผลให้ระบบย่อยอาหารมีปัญหา เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อได้[6]
4.ตกขาวผิดปกติ กลิ่นไม่พึงประสงค์ หรืออาการคันระคายเคือง
เนื่องจากบริเวณช่องคลอดของผู้หญิงจะมีแบคทีเรียเจ้าถิ่นอาศัยอยู่ หากจำนวนแบคทีเรียเจ้าถิ่นลดลงอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อ เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา โดยร่างกายจะแสดงอาการ ตกขาวผิดปกติ คันระคายเคือง หรือ บางรายอาจมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ ซึ่งการทานโพรไบโอติกที่มีแบคทีเรียเจ้าถิ่นเป็นส่วนประกอบจะช่วยป้องกันอาการเหล่านี้ไม่ให้เกิดขึ้น [12] [13]
5. อารมณ์ไม่เสถียร เครียด วิตก กังวล
จากการศึกษาพบว่ากว่า 95% ของ Serotonin (เซโรโทนิน) เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองและระบบประสาท และส่งผลถึงฮอร์โมนที่ควบคุมอารมณ์ทางบวก เช่น ความสุข ความสงบ มีสมาธิ เป็นต้น ซึ่ง Serotonin ถูกผลิตขึ้นที่ลำไส้[10] ขณะที่โพรไบโอติกช่วยปรับสมดุลลำไส้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าลำไส้และสมองมีความสัมพันธ์ในการทำงานควบคู่กัน[11]ดังนั้นหากโพรไบโอติกในลำไส้ไม่สมดุลก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อการผลิตสาร Serotonin ได้น้อยลง เมื่อร่างกายมีปริมาณ Serotonin ต่ำกว่าปกติจะส่งผลให้อารมณ์ไม่เสถียร เช่น รู้สึกกังวล อารมณ์ขุ่นมัวบ่อย อ่อนไหว เศร้าง่าย โมโหง่าย หรือไม่มีสมาธิ ถ้าหากระดับ Serotonin อยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงของปัญหาด้านอารมณ์และความรู้สึก อย่างภาวะซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคเครียด โรคสมาธิสั้น โรค PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) หากเริ่มมีสัญญาณพฤติกรรมเหล่านี้ แนะนำว่าไม่ควรปล่อยไว้เป็นระยะเวลานาน ควรรีบหาวิธีแก้ไข [9][10][11]
กล่าวได้ว่า โพรไบโอติกเสริมภูมิคุ้มกันและส่งเสริมการทำงานของระบบลำไส้ ช่วยให้ร่างกายทำงานได้ปกติและอยู่ในสภาวะที่สมดุล
ดังนั้น หากร่างกายเรามีสัญญาณเหล่านี้ ควรเลือกทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติก ที่ได้คุณภาพ เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้น หรือปรับสมดุลของร่างกายให้กลับมาเป็นปกติ
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติก
www.zenbiohealth.com/th/pro-bl8-th-โพรไบโอติก/
ข้อมูลอ้างอิง